2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติ 
Date of Distribution 25 June 2015 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 35 
     Organiser 1. สภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 
     Conference Place ห้องราชนครินทร์ ชั้น 5 อาคารราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 
     Province/State ฉะเชิงเทรา 
     Conference Date 25 June 2015 
     To 26 June 2015 
Proceeding Paper
     Volume 2558 
     Issue P-MED031 
     Page 2676-2689 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติ (concept mapping) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 31 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนมติ จำนวน 8 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ และแบบบันทึกความคิดเห็นของผู้ร่วมวิจัยและนักเรียน และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการเรียน ได้แก่ แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์แบบ a two-teir multiple choice ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ร่วมกับแผนผังมโนมติ ประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้ (1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน (2) ขั้นเร้าความสนใจเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ (3) ขั้นสำรวจและค้นหา (4) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (5) ขั้นขยายความรู้ (6) ขั้นประเมินผลโดยใช้แผนผังมโนมติ และ (7) ขั้นนำความรู้ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนแตกต่างจากหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และมีนักเรียนจำนวน 14 คน ที่มีการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ไปสู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์  
Author
565050341-0 Mr. SANTISUK KHOISI [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0