ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
คุณสมบัติบางประการของดินบริเวณรอบรากพืชเด่นบนพื้นที่ดินเค็มน้อยบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำชีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
8 สิงหาคม 2557 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
กรมพัฒนาที่ดิน |
สถานที่จัดประชุม |
โรงแรมพูลแมนขอนแก่นราชาออร์คิด อ.เมือง |
จังหวัด/รัฐ |
จ.ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
8 สิงหาคม 2557 |
ถึง |
9 สิงหาคม 2557 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
- |
Issue (เล่มที่) |
- |
หน้าที่พิมพ์ |
5 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการในการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางกายภาพและเคมีบางประการของดินและพืชเด่นในพื้นที่ดินเค็มน้อยในฤดูแล้ง ทำการศึกษา 3 พื้นที่คือ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชัยภูมิ โดยได้เก็บตัวอย่างดินแต่ละพื้นที่ที่ความลึก 0-15 ซม. รอบเขตรากพืชเด่นและได้นำมาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ศึกษาจังหวัดชัยภูมิ มีค่าคุณสมบัติของดินสูงที่สุด คือ ค่า pH 5.3, ECe 2.52 dS/m, ปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน 12.86 ppm., ความชื้นในดิน 4.61%, ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย (Sandy clay loam) ส่วนในพื้นที่ศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคุณสมบัติดินต่ำสุด คือ pH 4.13, ECe 4.31 dS/m, ปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน 1.75 ppm., ความชื้นในดิน 3.30%, ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย (Sandy loam) จำนวนพืชพรรณที่พบรวมกันทั้ง 3 จังหวัดมี 88 ชนิด 37 วงศ์ โดยในจังหวัดชัยภูมิพบจำนวนพืชพรรณ มากที่สุด 55 ชนิด 33 วงศ์ รองลงมาจังหวัดขอนแก่นพบพืชพรรณ 52 ชนิด 32 วงศ์และจังหวัดกาฬสินธุ์พบพืชพรรณน้อยที่สุด 29 ชนิด 20 วงศ์ จากการเปรียบเทียบชนิดของพืชพรรณในสังคมพืชที่พบในพื้นที่ศึกษาชี้ให้เห็นว่า ค่าความเค็มในพื้นที่ศึกษาจังหวัดชัยภูมิจะมีมากกว่าในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำให้พืชทนเค็มที่เป็นพืชเด่นเจริญเติบโตได้ดีกว่า ส่วนพืชทนเค็มที่เป็นพืชเด่นที่พบได้ทั้ง 3 พื้นที่ มีการปกคลุมมากที่สุด 7 อันดับแรก คือ หญ้าแพรก ต้นงวงช้าง เส่งใบมน สาบแร้งสาบกา หญ้าตีนตุ๊กแก ผักแก่นขม และหญ้าหวาย ดังนั้น จึงสามารถใช้พืชเด่นชนิดเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดระดับความเค็มของพื้นที่ดินเค็มน้อยหรือใช้เป็นตัวชี้วัดการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มได้เช่นกัน รวมทั้งยังใช้ประโยชน์เพื่อป้องกันพื้นที่ๆมีความเสี่ยงจะขยายตัวและพัฒนาเป็นพื้นที่ดินเค็มได้
คำสำคัญ : ดินเค็มน้อย ลุ่มน้ำชี โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ ค่าการนำไฟฟ้าของดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|