2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article อัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประชากรจังหวัดขอนแก่น 
Date of Acceptance 31 August 2015 
Journal
     Title of Journal วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 
     Standard TCI 
     Institute of Journal งานห้องสมุด โรงพยาบาลสกลนคร  
     ISBN/ISSN 0859-7251 
     Volume 19 
     Issue
     Month พฤษภาคม-สิงหาคม
     Year of Publication 2016 
     Page 11 
     Abstract การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ Retrospective cohort study มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประชากรจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และได้รับการลงทะเบียนมะเร็งประชากร จังหวัดขอนแก่น ที่หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 949 ราย หลังจากนั้นติดตามผู้ป่วยทุกรายจนกระทั่งทราบสถานะสุดท้ายของการมีชีวิต ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 จากทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล โดยคัดลอกข้อมูลผู้ป่วย จากฐานข้อมูลของหน่วยทะเบียนมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA version 10 วิเคราะห์หาอัตรารอดชีพ โดยใช้สถิติ Kaplan-Meier survival curve ผลการศึกษา พบว่า จากผู้ป่วยทั้งหมด 949 คน ระยะเวลาติดตามผู้ป่วยรวมทั้งหมดเป็น 3,162.1 คน-ปี เสียชีวิตจำนวน 664 ราย คิดเป็นอัตราตายเท่ากับ 21.0 ต่อ 100 คน-ปี (95% CI = 19.4 – 22.7) อัตรารอดชีพในระยะ 3, 5 และ 7 ปี เท่ากับร้อยละ 41.0 (95% CI = 61.25 – 67.34), 33.8 (95% CI = 27.47 – 33.43) และ 30.4 (95% CI = 27.47 – 33.43) ตามลำดับ และค่ามัธยฐานการรอดชีพ ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประชากรจังหวัดขอนแก่น เท่ากับ 2.0 ปี (95% CI = 1.66 – 2.37) จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในแต่ละการศึกษามีความแตกต่างกัน ผลการศึกษาที่แตกต่างกัน อาจเนื่องมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ลักษณะผู้ป่วย ลักษณะและพยาธิสภาพของโรค วิธีการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ ตลอดจนวิธีการหรือรูปแบบการศึกษา และการติดตามผู้ป่วย (follow up) ที่แตกต่างกันอีกทั้งองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพต่อการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยและมาตรฐานและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ จึงอาจส่งผลกระทบทำให้อัตรารอดชีพของผู้ป่วยแตกต่างกันออกไปซึ่งหากมีการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มแรกในผู้ป่วย ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการรักษาที่เหมาะสมกับลักษณะของโรค เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการตายและส่งผลต่อการมีอัตราการรอดชีพดีขึ้น  
     Keyword อัตรารอดชีพ, มะเร็งลำไส้ใหญ่ 
Author
565110109-1 Mr. PHANUPHON PHONGTHANOO [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0

<
forum