2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของรูปแบบของแบบทดสอบและวิธีการให้คะแนนที่มีต่อคุณภาพของแบบทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ The Results of Formats and Scoring Methods Effecting the Qualities of Science Tests 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 กันยายน 2558 
วารสาร
     ชื่อวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ (ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1905-9574 
     ปีที่ 10 
     ฉบับที่ พิเศษ 
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2559 
     หน้า
     บทคัดย่อ วิทยาศาสตร์มีรูปแบบของแบบทดสอบที่แตกต่างไปจากเดิมโดยมุ่งเน้นการตอบข้อสอบที่ไม่ได้มีเพียง 1 คำตอบที่ถูกที่สุด ในหนึ่งข้ออาจตอบถูกได้มากกว่า 1 คำตอบ หรือมีรูปแบบที่หลากหลายเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเนื้อหาวิชา ดังนั้นเมื่อรูปแบบของแบบทดสอบเปลี่ยนไปวิธีการให้คะแนนจึงแตกต่างไปด้วยเช่นกัน การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีรูปแบบของแบบทดสอบและวิธีการให้คะแนนแตกต่างกัน ผู้เข้าร่วมทดสอบ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1,132 คน จาก 8 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 โดยมี 3 เงื่อนไขที่ทำการศึกษา คือ 1) แบบเลือกตอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบที่ถูกที่สุด มีการตรวจให้คะแนน 0-1 2) แบบเลือกตอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบ และปรนัยหลายตัวเลือก เลือกคำตอบที่ถูกได้มากกว่า 1 คำตอบ มีการตรวจให้คะแนน 0-1 และการตรวจให้คะแนน 0-2 และ 3) แบบเลือกตอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบ และปรนัยหลายตัวเลือก เลือกคำตอบที่ถูกได้มากกว่า 1 คำตอบ มีการตรวจให้คะแนน 0-1 และการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบทั้ง 3 เงื่อนไข สามารถวัดได้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ แต่เมื่อพิจารณาดัชนีบ่งชี้ ค่าความเที่ยง ซึ่งสะท้อนถึงความคงเส้นคงวาของแบบทดสอบ พบว่า เงื่อนไขที่ 3 ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบ และปรนัยหลายตัวเลือก เลือกมากกว่า 1 คำตอบมีการตรวจให้คะแนน 0-1 และการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนมีคุณภาพสูงสุด รองลงมาคือเงื่อนไขที่ 2 และ 1 ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นประโยชน์และเป็นแนวทางสำหรับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานทางการศึกษาในการกำหนดรูปแบบของแบบทดสอบและวิธีการให้คะแนนของแบบทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพ  
     คำสำคัญ คุณภาพของแบบทดสอบ รูปแบบของแบบทดสอบ วิธีการให้คะแนน ราส์ชโมเดล Qualities of Science Tests, Formats of Test, Scoring Methods, Rasch Model 
ผู้เขียน
565050128-0 น.ส. ครองขวัญ เคยชัยภูมิ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0