2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การให้แสงสว่างในอาคารโฮมสโตร์ปัจจุบัน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 17 กันยายน 2558 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โฮมภูมิ ครั้งที่ 2 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเทคโนโลยีอาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 
     สถานที่จัดประชุม คณะเทคโนโลยีอาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 กันยายน 2558 
     ถึง 18 กันยายน 2558 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 193 
     Editors/edition/publisher คณะเทคโนโลยีอาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการให้แสงสว่างในอาคารช่วงพาดยาวโดยกำหนดให้อาคารโฮมสโตร์เป็นอาคารกรณีศึกษา โดยการสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของอาคาร โดยศึกษาเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดขอนแก่นเท่านั้น คุณลักษณะทางกายภาพและระบบแสงสว่างของแต่ละอาคารนำมาจำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Dialux 4.10 อาคารกรณีศึกษาคัดเลือกจากกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ที่มีการแข่งขันกันสูงจำนวน 5 อาคาร เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย ตลอดจนปัญหาของแต่ละอาคารเพื่อใช้เป็นแนวทางการออกแบบการให้แสงสว่างในอาคารช่วงพาดยาวให้มีค่าความสว่างและค่าความสม่ำเสมอของแสงที่เหมาะสมในสภาวะของการใช้แสงที่แตกต่างกัน ได้แก่ การใช้แสงธรรมชาติ การใช้แสงประดิษฐ์ และการใช้แสงธรรมชาติร่วมกับแสงประดิษฐ์ภายใต้สภาพท้องฟ้าที่แตกต่างกัน ได้แก่ ฟ้าเปิดฟ้าที่มีเมฆปกคลุมหนาแน่น และฟ้าที่มีเมฆบางส่วน ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบช่องแสงของอาคารเพื่อรับแสงธรรมชาติเข้ามาอาคาร และ การเลือกใช้แสงประดิษฐ์ที่เหมาะสม สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการให้ค่าความสว่างของแสงและค่าความสม่ำเสมอของแสงได้ เช่น การติดตั้งช่องกระจกสำหรับรับแสงสว่างบนหลังคา (Skylight) การติดตั้งหน้าต่างบนหลังคา (Roof monitor) และ ติดตั้งหน้าต่างส่วนบนของผนัง (Window) รวมถึงการเลือกชนิดของโคมไฟและหลอดไฟที่เหมาะสม ช่วยให้อาคารมีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คำสำคัญ: แสงประดิษฐ์ แสงธรรมชาติ ค่าความส่องสว่าง อาคารช่วงพาดยาว . This research aims to propose guidelines for lighting system using in long span part of homestore buildings by collecting their basic information of the buildings That are located only in Nakhon Ratchasima and Khon Kaen. Physical characteristics and lighting systems in each building were then simulated by using Dialux 4.10 . The five samples were selected from the construction business groups, which are highly competitive. The obtained data were analysed their advantages, disadvantages and problems of each building. These information was further used as the guideline of lighting design in long span building to obtain suitable illuminance and lighting uniformity via different lighting conditions (daylight, artificial light and combination of both sources) and sky conditions (clear, overcast and partly cloudy sky). The results show that the efficiency of lighting systems depended upon the building configurations such as the installation of sky light, roof monitors and windows. Besides, the selection of proper lighting types and lamps can improve the lighting efficiency in buildings.  
ผู้เขียน
555200028-9 นาย พงษ์ศักดิ์ จงหมายกลาง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0