Research Title |
การใช้ธรณีสถิติอธิบายความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของการนำไฟฟ้าและสัดส่วนการดูดยึดโซเดียมในพื้นที่ดินภายใต้อิทธิพลของเกลือ: กรณีศึกษาที่ตำบลเมืองเพีย จังหวัดขอนแก่น |
Date of Distribution |
8 August 2014 |
Conference |
Title of the Conference |
โครงการประชุมวิชาการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2 |
Organiser |
กรมพัฒนาที่ดิน |
Conference Place |
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จังหวัดขอนแก่น |
Province/State |
ขอนแก่น |
Conference Date |
8 August 2014 |
To |
9 August 2014 |
Proceeding Paper |
Volume |
2 |
Issue |
1 |
Page |
15-16 |
Editors/edition/publisher |
|
Abstract |
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือดินภายใต้อิทธิพลของเกลือเป็นปัญหาที่ท้าทายของนักวิทยาศาสตร์ทางด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ในการจัดการพื้นที่ดินนี้ให้มีประสิทธิภาพต้องการข้อมูลที่สำคัญ คือแผนที่แสดงความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของผลกระทบจากอิทธิพลของเกลือ แผนที่ฉบับที่ใช้ในปัจจุบันซึ่งจัดทำขึ้นโดยการจำแนกระดับความรุนแรงของผลกระทบตามปริมาณคราบเกลือที่ปรากฏในฤดูแล้ง ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity, EC) และสัดส่วนการดูดยึดโซเดียม (Sodium Adsorption Ratio, SAR) ในพื้นที่ที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน งานวิจัยนี้ประกอบด้วยการศึกษาหลายส่วน ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ตำบลเมืองเพีย จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อศึกษาความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของคุณสมบัติดินข้างต้นโดยใช้แนวทางของธรณีสถิติ ซึ่งประกอบด้วย (1) การสร้างกราฟเซมิแวริโอแกรม แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความแปรปรวน (ของค่า EC หรือ SAR) กับระยะทาง (ที่จุดเก็บตัวอย่างทั้งหลายอยู่ห่างจากกันและกัน) และ (2) การประมาณค่าในช่วง (interpolation) ของค่า EC หรือ SAR ด้วยวิธีคริกิ้ง ทั้งนี้โดยเน้นศึกษาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเกลือระดับรุนแรงมาก (class 1) ระดับรุนแรง (class 2) และระดับปานกลาง (class 3) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโดยทั่วไปแล้ว ค่า EC และ SAR มีความแปรปรวนสูงในพื้นที่ทุกระดับความรุนแรง ดังนั้นระยะห่างในการเก็บตัวอย่างดินสำหรับพื้นที่เหล่านี้จึงค่อนข้างแคบ วิธีการที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างคือวิธีสุ่มตัวอย่างในตารางกริดขนาด 5 × 5 ม2 ในพื้นที่ 50 × 50 ม2 (stratified systematic unaligned sampling) นอกจากนี้ยังพบว่าความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของค่า EC และ SAR มีค่าสูงและมีรูปแบบการกระจายตัวที่แตกต่างกันแม้ในพื้นที่ซึ่งจัดอยู่ใน class เดียวกันด้วยสาเหตุที่ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน ซึ่งต้องการรายละเอียดและความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการเกิดรูปแบบความแปรปรวนนี้ เพื่อการวางแผนการจัดการและการทำการเกษตรแบบเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ดินชนิดนี้ได้ดียิ่งขึ้น |
Author |
|
Peer Review Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
ชาติ |
Type of Proceeding |
Abstract |
Type of Presentation |
Poster |
Part of thesis |
true |
Presentation awarding |
false |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|