2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ PAPAYA VARIETY CLASSIFICATION BY IMAGE PROCESSING 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 กรกฎาคม 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม NCCIT 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเซ็นทาราแอนด์คอนเวนชันเซ็นเตอร์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 7 กรกฎาคม 2559 
     ถึง 8 กรกฎาคม 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 12 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 350-357 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ มะละกอเป็นผลไม้ที่นิยมมากในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นบริโภคภายในประเทศ หรือเป็นผลไม้ส่งออกนอกประเทศ จากงานวิจัยที่เกี่ยวกับการคัดแยกเกรดของมะละกอ มะม่วง หรือแม้กระทั่งผลไม้อื่นด้วยวิธีการประมวลผลด้วยภาพ ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการคัดแยกเพียงวิธีเดียว ดังนั้นในงานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการคัดแยกพันธุ์มะละกอที่เป็นพันธุ์ที่นิยมขายในประเทศไทย เพื่อทำการคัดแยกสายพันธุ์มะละกอ ซึ่งจะใช้อัลกอริทึมในการคัดแยกที่แตกต่างกันเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้ โดยการทดลองนี้ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างมะละกอจำนวน 250 ลูก แบ่งเป็น 5 สายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์แขกดำ พันธุ์ฮอลแลนด์ พันธุ์ดำเนินสะดวก พันธุ์ศรีสะเกษ และพันธุ์เรดเลดี้ โดยเริ่มจากการถ่ายภาพมะละกอในเครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตของการทดลอง จากนั้นนำภาพถ่ายมะละกอที่ได้มาทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีการประมวลผลด้วยภาพ เพื่อคำนวณหาขนาดพื้นที่โดยมีหน่วยเป็นพิกเซล เส้นผ่านศูนย์กลางทั้งแนวตั้งและแนวนอน ความยาวเส้นรอบรูป และค่าความกลม ของรูปภาพมะละกอแล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการคัดแยกกลุ่ม ในงานวิจัยนี้ได้เลือกอัลกอริทึมมา 5 วิธี ได้แก่ Multilayer Perceptron, Support Vector Machines, Random Committee, K-Nearest Neighbor และ Random Forest ผลการทดลองพบว่าการจัดกลุ่มด้วยอัลกอริทึมแบบ Multilayer Perceptron, Random Committee ให้ค่าความถูกต้องคือ 97.6% โดยค่าความถูกต้องสูงกว่าอัลกอริทึมแบบ Support Vector Machines, K-Nearest Neighbor และ Random Forest คำสำคัญ: วิธีการประมวลผลด้วยภาพ พันธุ์มะละกอ ค่าความกลม  
ผู้เขียน
565020157-1 นาย สุรเพชร วงษ์บุญชา [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum