2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ “ไม้ไผ่ขด” สู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 12 ธันวาคม 2559 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ภูมิปัญญา “ไม้ไผ่ขด” พัฒนามาจากการทำเครื่องเขินของช่างหัตถกรรมทางภาคเหนือของประเทศไทย ในปัจจุบันมักจะถูกนำมาทำเป็นเครื่องใช้หรือภาชนะต่างๆซึ่งมีราคาที่ถูกเช่น จาน ถาดรองผลไม้ แจกันเป็นต้น จากคุณสมบัติเบื้องต้นของไม้ไผ่ขดที่มีความสามารถในการดูดซับเสียงและขึ้นรูปได้หลากหลายรูปทรง จึงเกิดแนวคิดในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่จากภูมิปัญญาไม้ไผ่ขดสำหรับผลิตเป็นอูคูเลเล่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสมบัติทางกายภาพและกระบวนการทำไม้ไผ่ขดที่เหมาะสมในการทำอูคูเลเล่ 2. การทดลองขึ้นรูปและโครงอูคูเลเล่โดยกระบวนการไม้ไผ่ขด 3.เพื่อประเมินผลคุณภาพทางด้านรูปทรงและคุณภาพเสียงของอูคูเลเล่ที่ผลิตจากไม้ไผ่ขด ขั้นตอนในการพัฒนาไม้ไผ่ขดเป็นการพัฒนาที่อาศัยวิธีการออกแบบและผลิตร่วมกับช่างทำเครื่องดนตรีและผู้เชี่ยวชาญด้านการทำไม้ไผ่ขด พัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และเป็นการสร้างนวัตกรรมเข้าไปใช้กับตัวผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ขด โดยการนำองค์ความรู้จากกลุ่มไม้ไผ่ขดเองร่วมกับกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดนตรีได้แก่ช่างผู้ผลิตกีตาร์มาผลิตตัวอูคูเลเล่ โดยเริ่มจากส่วนด้านหลังของลำตัวที่ทำจากไม้ไผ่ขด สู่การประกอบชิ้นส่วนรวมทั้งตัวจากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพของไม้ไผ่ขดทั้งด้านคุณภาพเสียงและด้านของความสวยงาม ผลการวิจัยพบว่า สมบัติทางกายภาพและกระบวนการทำไม้ไผ่ขดมีความเหมาะสมในการสร้างอูคูเลเล่ ซึ่งคุณสมบัติทางกายภาพของไม้ไผ่ขดมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงดังเช่นไม้ไผ่ธรรมชาติ เพราะเมื่อการนำมาขดต่อกันจนมีขนาดความหนาพอสมควรแล้วความหนาแน่นจะทำให้ไม้ไผ่ขดเป็นตัวกลางในการลดอัตราความถี่ของเสียงและสามารถขึ้นรูปโครงได้สวยงามอย่างที่ต้องการ ไม้ไผ่ขดสามารถสร้างส่วนประกอบของเครื่องดนตรีอย่างอูคูเลเล่ให้มีการใช้งานได้ในระดับเดียวกับมาตรฐานของอูคูเลเล่ที่ขายในท้องตลาดทั่วไป ผลการศึกษากระบวนการสร้างส่วนประกอบของอูคูเลเล่นี้สามารถการดึงเอาคุณสมบัติของไม้ไผ่ขดได้แก่การสร้างรูปทรง และการดัดรูปทรงที่สามารถทำได้อย่างหลากหลาย ความแข็งแรงที่เกิดจากการขดไม้ไผ่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ในท้องตลาดมากขึ้นและพบว่าจากกระบวนการผลิตอูคูเลเล่นี้ สามารถทำได้ ภายในระยะเวลาเพียง1-2วัน เนื่องจากกระบวนการขดไม้ไผ่นั้นสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องอาศัยวัสดุอื่นหรือปัจจัยอื่นช่วย สามารถขดให้มีรูปแบบที่หลากหลายและจากการสืบค้นพบว่ายังไม่เคยมีการทดลองในการใช้ไม้ไผ่ขดมาทำเป็นเครื่องดนตรีหรืออูคูเลเล่มาก่อน จึงเป็นผลงานในการใช้ไม้ไผ่ขดในการผลิตอูคูเลเล่เป็นชิ้นแรกและได้นำไปจดอนุสิทธิบัตรในเรื่องกระบวนการผลิตอูคูเลเล่จากไม้ไผ่ขด ผลจากการทดลองต้นแบบพบว่าอุคูเลเล่ที่ได้จากกระบวนการนี้ มีคุณภาพเสียงในระดับปานกลางและรูปทรงความสวยงามที่อยู่ในระดับดี จึงมีคุณภาพที่สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น รวมทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์นำไปสู่การต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้ในอนาคต  
     คำสำคัญ ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ,การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ,หัตถกรรม ,เครื่องดนตรีเครื่องสาย ,อูคูเลเล่ , เครื่องเขิน 
ผู้เขียน
575200029-9 น.ส. พิชญ์ระวี สุรอารีกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum