ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
อัตราค่าจ้างที่ต่างกันระหว่างแรงงานชายและหญิงในสถาบันการเงินของประเทศไทย |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
25 พฤษภาคม 2560 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกต่อความยั่งยืนของอาเซียน |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
สถานที่จัดประชุม |
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
25 พฤษภาคม 2560 |
ถึง |
25 พฤษภาคม 2560 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
3 |
Issue (เล่มที่) |
s |
หน้าที่พิมพ์ |
(5-87) - (5-108) |
Editors/edition/publisher |
วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง |
บทคัดย่อ |
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาอัตราค่าจ้างที่ต่างกันระหว่างแรงงานชายและหญิงที่ทำงานในสถาบันการเงินของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรทั่วราชอาณาจักร “ The Labor Force Survey 2015” ในไตรมาสที่ 3 ผู้วิจัยใช้เทคนิค Oaxaca decomposition (Oaxaca, 1973) เพื่อจำแนกความแตกต่างของอัตราค่าจ้างระหว่างแรงงานชายและหญิง แบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่อธิบายได้ เกิดจากความแตกต่างด้านคุณสมบัติของบุคคลหรือทุนมนุษย์ และส่วนที่อธิบายไม่ได้ที่เกิดจากความแตกต่างของผลตอบแทนต่อคุณสมบัตินั้นๆ หรือเรียกกันว่าเป็นส่วนที่อาจเกิดจากการเลือกปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่าแรงงานชายได้รับอัตราค่าจ้างมากกว่าแรงงานหญิง อยู่ที่ ร้อยละ 11.85 ซึ่งส่วนแรกมาจากการที่แรงงานชายมีคุณสมบัติที่ดีกว่า ร้อยละ 0.43 ส่วนที่สองเกิดจากการที่แรงงานมีคุณสมบัติที่มองเห็นได้เหมือนกันทุกประการ แรงงานชายได้รับอัตราค่าจ้างมากกว่า ร้อยละ 11.42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ผลการวิจัยเหล่านี้รวมกับการสัมภาษณ์แรงงานที่ทำงานในสถาบันการเงินแสดงให้เห็นมากขึ้นว่ามีการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานหญิงในสถาบันการเงิน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
4
|
|