2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การสร้างความรู้ฝังแน่นกับการเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับองค์กร: การพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอย  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 สิงหาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสนเทศศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สาขาวิชาสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 2228-8457 
     ปีที่ 35 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างความรู้ฝังแน่น (Embedded Knowledge) ผ่านกระบวนการทำงานและกิจกรรมของโครงการ โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) แบบการวิจัยกรณีศึกษา (Case Study) ผู้วิจัยได้เลือกโครงการการจัดการมูลฝอยแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นตัวอย่างในการศึกษา โครงการนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการและแปรรูปขยะให้เป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการดำเนินกิจกรรมของโครงการมีการบูรณาการความรู้จากหลายศาสตร์ อาทิ ความรู้ด้านสาธารณสุข วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ กรอบแนวคิดของการวิจัยได้ผสมผสานแนวคิดวงจรชีวิตโครงการของ Project Management Institute (2013) กับแบบจำลองการสร้างความรู้ (SECI Model) ของ Nonaka & Takeuchi (1995) พร้อมด้วยสมมติฐานที่ว่า ความรู้เกิดจากการทำงานร่วมกันของสมาชิกทีมงานในโครงการ และโครงการและกิจกรรมที่ทำร่วมกันในทีมนั้นคือ เวที (Platform) หรือ พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Ba) ใน SECI Model ในการแลกเปลี่ยน ถ่ายโอน และใช้ความรู้ในโครงการ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะก่อให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่ การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารต่างๆของโครงการ (Document Analysis) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) หัวหน้าโครงการ สมาชิกทีมโครงการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ จำนวน 15 คน รวมถึงได้ใช้การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมเพื่อรวบรวมการทำงานของสมาชิกทีมโครงการและการลงพื้นที่ปฏิบัติการของโครงการ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ตามแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและนำเสนอเป็นผลการวิจัย ผลของการศึกษา พบว่า การสร้างความรู้ผ่านกระบวนการทำงานของโครงการต้องอาศัยความรู้มหภาค (Macro Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่สั่งสมมาในรูปแบบของความรู้ทางวิชาการรวมกับประสบการณ์เดิมของสมาชิกโครงการเป็นวัตถุดิบสำคัญในการพัฒนาต่อยอดเกิดเป็นความรู้ใหม่ที่มีลักษณะเป็นความรู้ฝังแน่น (Embedded Knowledge) ของทีมโครงการ ซึ่งความรู้ที่ฝังแน่นนี้สามารถสร้างผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันของทีมโครงการควบคู่ไปกับการใช้ข้อมูลและสารสนเทศเฉพาะพื้นที่เข้ามาเป็นฐานสำคัญในการสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งกระบวนการสร้างความรู้ในระดับโครงการประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนการกำหนดความรู้ (Knowledge Identification) และส่วนการสร้างความรู้ (Knowledge Creation) โดยการกำหนดความรู้นี้มีส่วนสำคัญทั้งในมิติของการสร้างมโนทัศน์ความรู้และในมิติของการกำหนดกิจกรรมและทีมโครงการที่จะมาทำงานร่วมกัน ขณะที่การสร้างความรู้นั้นจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนย่อยซึ่งก็คือ (1) การสร้างความรู้ระดับเริ่มกิจกรรม เป็นขั้นตอนที่ทีมย่อยแต่ละทีมลงไปเก็บรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ในการทำงาน ซึ่งถือว่าเป็นการลงไปเก็บข้อมูลที่เป็นความรู้จุลภาค (Micro Knowledge) แล้วนำมาบูรณาการกับความรู้และประสบการณ์เดิมที่มี แล้วสร้างความรู้ใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาที่แต่ละทีมย่อยกำลังพิจารณาได้ (2) การสร้างความรู้ระดับดำเนินกิจกรรม ซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ของโครงการเป็นการนำความรู้จุลภาค (Micro Knowledge) ทั้งหมดที่ได้มาบูรณาการร่วมกันกับความรู้มหภาค ที่มีอยู่เดิมแล้วสร้างความรู้ใหม่ (New Knowledge) ในลักษณะของการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์เพื่อที่จะยกระดับความรู้จุลภาคที่ได้จากแต่ละทีมย่อยขึ้นเป็นผลลัพธ์ของโครงการ และ (3) การสร้างความรู้ระดับสรุปผลกิจกรรมผ่านการยืนยันความรู้ ซึ่งเป็นการนำเอาความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้นขององค์กรหรือผลผลิตของโครงการ (Product) ไปพัฒนาต่อยอดใช้จริงในพื้นที่ ซึ่งความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้นมาจากทุกระดับนั้นต้องผ่านการยืนยันความรู้โดยนำใช้จริงในพื้นที่กับชุมชนที่ได้รับผลประโยชน์ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างความรู้จากการทำงานโครงการ คือ (1) ความรู้ในเชิงวิชาการและประสบการณ์ของทีมโครงการ (2) ความเชื่อใจ และ (3) การบันทึกความรู้  
     คำสำคัญ การจัดการความรู้, การจัดการโครงการ, การสร้างความรู้, ความรู้ฝังแน่น 
ผู้เขียน
547080016-5 นาง ชุติมา ไวยสุระสิงห์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0