2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวางแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อส่งเสริมการผลิตอ้อย กรณีศึกษา : โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 10 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกต่อความยั่งยืนของอาเซียน 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
     สถานที่จัดประชุม ณ ห้อง 401 อาคาร ECB1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 พฤษภาคม 2560 
     ถึง 25 พฤษภาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1-96 ถึง 1-118 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวางแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อส่งเสริมการผลิตอ้อยกรณีศึกษา : โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ในรัศมี 50 กิโลเมตร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้พื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูกอ้อยเพื่อวางแผนการจัดการพื้นที่ที่เหมาะสมในเขตกรรมอ้อยของโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ และ 2) เพื่อประมาณการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ที่ดินเนื่องจากแผนการเพาะปลูกพืชตามแบบจำลอง ซึ่งในรัศมีพื้นที่ 50 กิโลเมตร จากโรงงานน้ำตาลมีพื้นที่ปลูกอ้อยรวมทั้งสิ้น 630,824 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ปลูกอ้อยดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองต่อกำลังความสามารถในการหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาล ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญในการจัดการพื้นที่ที่เหมาะสมในเขตเกษตรกรรมอ้อยโดยใช้แบบจำลองการเพาะปลูกพืช (DSSAT) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS) ซึ่งพิจารณาจากผลผลิต ต้นทุนการผลิต และการขนส่ง ผลการศึกษาจากแบบจำลองพบว่า ชุดดินที่ 38 ให้ผลผลิตอ้อยมากที่สุด ผลผลิตเฉลี่ยที่ 20 ตันต่อไร่ ทำให้เกษตรกรได้รับกำไรสุทธิเฉลี่ย 7,292 บาทต่อไร่ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกอ้อยใหม่ตามกำไรสุทธิพื้นที่เฉลี่ย 103,509 ไร่ ดังนั้นการจัดการการใช้ประโยชน์จากที่ดินจึงเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรที่จะทำการเลือกพื้นที่ที่ปลูกอ้อยที่เหมาะสมก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับตัวของเกษตรกรเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปลูกอ้อยและการใช้ทรัพยากรที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: การใช้ประโยชน์ที่ดิน , ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ , แบบจำลองพืช  
ผู้เขียน
575210039-0 น.ส. วิภาภรณ์ ไกยฤทธิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเศรษฐศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0