ชื่อบทความ |
องค์ประกอบของสัมฤทธิผลการเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (Components of Learning Achievement Outcome to be the Innopreneur) |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
4 กันยายน 2560 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
1906-3180 |
ปีที่ |
11 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตัวบ่งชี้สัมฤทธิผลการเรียนรู้ของมหาบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจในการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องเชิงประจักษ์กับข้อมูลในบริบทจริง และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันเพื่อสำรวจ ระบุ และยืนยันองค์ประกอบร่วมที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรองค์ประกอบ ซึ่งนำไปสู่การกำหนดชื่อและการให้คำนิยามองค์ประกอบของสัมฤทธิผลการเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารองค์กรการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจำนวน 60 คน ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่มเพื่อระดมสมองจากผู้เรียนที่กำลังศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตรหัส 58 จำนวน 105 คน ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจจากผู้เรียนที่กำลังศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตรหัส 57 จำนวน 300 คน และขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจากผู้เรียนที่กำลังศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตรหัส 58 และรหัส 59 จำนวน 380 คน เก็บข้อมูลวิจัยระหว่างปีการศึกษา 2558-2559 ผลการวิจัยพบว่า สัมฤทธิผลการเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบ จำแนกเป็น 10 ตัวแปร ได้แก่ (1) สัมฤทธิผลด้านผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล เพื่อการเพิ่มพูนความมั่งคั่งและเสถียรภาพทางทางการเงิน (2) สัมฤทธิผลด้านนิสัย เพื่อการใฝ่ความเป็นเลิศ (3) สัมฤทธิผลด้านทักษะ เพื่อการปฏิบัติและการทำให้สำเร็จ (4) สัมฤทธิผลด้านทัศนคติ เพื่อการนำการเปลี่ยนแปลงและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (5) สัมฤทธิผลด้านเครือข่าย เพื่อการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจและความแข็งแกร่งทางธุรกิจจากการเพิ่มอำนาจในการต่อรอง (6) สัมฤทธิผลด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อความสงบสุขในตนเองและสังคม (7) สัมฤทธิผลด้านองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม (8) สัมฤทธิผลด้านภาวะผู้นำ เพื่อการนำการเรียนรู้อย่างสอดประสานและเชื่อมโยงกันอย่างกลมกลืน (9) สัมฤทธิผลด้านความเป็นสากล เพื่อการบูรณาการเข้ากับท้องถิ่นอย่างมีอารยะ และ (10) สัมฤทธิผลด้านเทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อการพัฒนาช่องทางออนไลน์ที่เข้าถึงเป้าหมายได้อย่างทรงประสิทธิภาพ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้สามารถอธิบายสัมฤทธิผลการเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมได้ร้อยละ 57.749 และเป็นโมเดลที่ fit เนี่องด้วย มีค่า CFI เท่ากับ 0.996 ค่า TLI เท่ากับ 0.993 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.032 |
คำสำคัญ |
องค์ประกอบ สัมฤทธิผลการเรียนรู้ ผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|