2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงาน (SOFT SKILLS) ของครูผู้ช่วยในโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Indicators of Soft Skills for Assistant Teachers in Primary Schools in The Northeast of Thailand 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 กันยายน 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความสอดคล้อง ของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วย กับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก การสร้างและการพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วย วิเคราะห์จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจัดทำกรอบแนวคิดตัวบ่งชี้ และตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่สอง การตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้ช่วยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 830 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 560 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วย 7 องค์ประกอบหลัก 21 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย การทำงานเป็นทีม 6 ตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำ 6 ตัวบ่งชี้ จริยธรรมในการทำงาน 6 ตัวบ่งชี้ การติดต่อสื่อสาร 6 ตังบ่งชี้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 6 ตัวบ่งชี้ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 6 ตัวบ่งชี้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ตัวบ่งชี้ ทั้งหมด 42 ตัวบ่งชี้ โดยโมเดลการวัดทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วยมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีความเหมาะสมตามเกณฑ์ คือ มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20 2. โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วย ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าค่าไคว์สแคว์ (2) เท่ากับ 125.843 ค่าองศาอิสระ (Df) เท่ากับ 103 ค่า (P-Value) เท่ากับ 0.0627 ค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.020 ค่า (SRMR) เท่ากับ 0.029 ค่า (CFI) เท่ากับ 0.997 ค่า (TLI) เท่ากับ 0.994 
     คำสำคัญ Soft Skills, Assistant Teachers, Primary School, Teamwork, Leadership 
ผู้เขียน
585050173-7 นาย อนวัช จิตรักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0