2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ค่าความทนแรงเฉือนระดับจุลภาคของการเตรียมพื้นผิวคอมโพเนียร์บริลเลียนท์ด้วยวิธีต่างๆ (Micro-Shear Bond Strength of Componeer Brilliant in Different Surface Treatments.) 
Date of Distribution 19 October 2017 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 44 
     Organiser บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     Conference Place โรงแรม U-PLACE มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 19 October 2017 
     To 20 October 2017 
Proceeding Paper
     Volume 2560 
     Issue
     Page 434-442 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าความทนแรงเฉือนระดับจุลภาคในการยึดอยู่ระหว่างคอมโพเนียร์บริลเลียนท์กับเรซินคอมโพสิตหลังเตรียมพื้นผิวคอมโพเนียร์บริลเลียนท์ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน โดยแบ่งชิ้นตัวอย่างทั้งหมด 90 ชิ้น เข้าสู่กลุ่มการทดลอง 6 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีการเตรียมพื้นผิว(กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยกรดฟอสฟอริก กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยหัวกรอกากเพชร กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทราย กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยหัวกรอกากเพชรร่วมกับกรดฟอสฟอริก และกลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทรายร่วมกับกรดฟอสฟอริก จากนั้นนำเรซินคอมโพสิตยึดกับพื้นผิวของคอมโพเนียร์บริลเลียนท์หลังเตรียมพื้นผิวด้วยวิธีต่างๆ หลังจากทำให้เกิดพอลิเมอร์ไรเซชั่นนำชิ้นตัวอย่างไปเข้าเครื่องเทอร์โมไซคลิง 500 รอบและนำไปทดสอบค่าความทนแรงเฉือนระดับจุลภาคด้วยเครื่องทดสอบแรงสากล จากนั้นนำชิ้นตัวอย่างไปวิเคราะห์การแตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอกำลังขยาย 30 เท่า ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทรายร่วมกับกรดฟอสฟอริกให้ค่าแรงในการยึดอยู่สูงที่สุดคือ 19.91 ± 2.52 เมกะปาสคาล แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) รองลงมาคือ กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยหัวกรอกากเพชรร่วมกับกรดฟอสฟอริก กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทราย กลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยหัวกรอกากเพชร และกลุ่มที่เตรียมพื้นผิวด้วยกรดฟอสฟอริกลดลงตามลำดับ ส่วนกลุ่มควบคุมให้ค่าแรงในการยึดอยู่ต่ำที่สุดคือ 14.82 ± 1.59 เมกะปาสคาล เมื่อวิเคราะห์การแตกหักหลังจากทดสอบค่าความทนแรงเฉือนระดับจุลภาค พบว่า การแตกหักส่วนใหญ่เกิดความล้มเหลวของการแตกหักของสารยึดติดคิดเป็นร้อยละ 53.33 
Author
585130007-9 Mr. PARINYA TANAWET [Main Author]
Dentistry Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 20

<
forum