2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ “ไซเตส”: กฎเกณฑ์ทางการค้าระหว่างประเทศในพื้นที่ตลาดชายแดนไทย – สปป.ลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม สัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 17 ประจำปี 2561  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 กุมภาพันธ์ 2561 
     ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 17 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 226-236 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของอนุสัญญาไซเตสในพื้นที่ตลาดชายแดนไทย – สปป. ลาว จุดผ่อนปรนบ้านหนองมน จังหวัดหนองคาย บทความนี้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ในส่วนของการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามใช้การสัมภาษณ์ รวมทั้งการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาชี้ว่า ภายหลังจากที่ประเทศไทยและสปป. ลาวได้ลงนามข้อตกลงในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือไซเตส (CITES) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อควบคุมการค้า ทั้งการนำเข้า การส่งออกและการนำผ่านสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าชนิดที่ต้องมีใบอนุญาตหรือใบรับรองให้นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านตามความตกลงระหว่างประเทศ ผลจากการลงนามทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศในอนุสัญญาดังกล่าว ส่งผลให้วิถีการค้าขายสัตว์ป่าและของป่าของผู้ค้าลาวรายย่อยได้กลายเป็นการค้าผิดกฎหมาย เป็นการค้านอกระบบที่รัฐสูญเสียผลประโยชน์ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการมองการค้าชายแดนโดยยึดผลประโยชน์ของอำนาจรัฐศูนย์กลางเป็นหลัก บทความนี้จึงให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น และมองผู้ค้าลาวรายย่อยในฐานะของคนท้องถิ่นชายแดนที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เชื่อมต่อทางการค้าระหว่างสองรัฐที่ใช้พรมแดนแม่น้ำโขงร่วมกัน อีกทั้งต้องการเผยให้เห็นถึงช่องโหว่ทางกฎหมายเกี่ยวกับอนุสัญญาไซเตสและช่องว่างทางการใช้อำนาจของรัฐที่ส่งผลให้เกิดปฏิบัติการการต่อรองระหว่างผู้ค้าลาวรายย่อยกับเจ้าหน้าที่รัฐไทย  
ผู้เขียน
585080038-5 น.ส. สุดารัตน์ ศรีอุบล [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล ผู้นำเสนอผลงานยอดเยี่ยม 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 23 กุมภาพันธ์ 2561 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum