2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title พัฒนาการทางการค้าชายแดนในพื้นที่ตลาดชายแดน จุดผ่อนปรนบ้านหนองมน จังหวัดหนองคาย  
Date of Distribution 29 June 2017 
Conference
     Title of the Conference สัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 16 
     Organiser คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     Conference Place คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     Province/State พิษณุโลก 
     Conference Date 29 June 2017 
     To 30 June 2017 
Proceeding Paper
     Volume 16 
     Issue
     Page 78 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางการค้าชายแดนในพื้นที่จุดผ่อนปรนบ้านหนองมน จังหวัดหนองคาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้รู้ในชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐไทย ผู้ค้าลาวข้ามพรมแดน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมการค้าชายแดน ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่จุดผ่อนปรนบ้านหนองมนเป็นชุนชมชายแดนที่ผู้คนทั้งสองฝั่งโขงมีความยึดโยงกันผ่านเครือญาติ และการมีลักษณะร่วมทางชาติพันธุ์เดียวกัน อีกทั้งมีความสัมพันธ์ทางการค้ามาอย่างยาวนานก่อนการแบ่งเส้นเขตแดนรัฐชาติ โดยใน พ.ศ. 2518 ช่วงสงครามเย็น รัฐชาติทั้งสองฝั่งได้ปิดชายแดนเพื่อตัดขาดความสัมพันธ์ของผู้คนอันเป็นผลมาจากความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ตามผู้คนยังลักลอบไปมาหาสู่ระหว่างกันจนกระทั่งในช่วง พ.ศ. 2531 - 2534 ซึ่งเป็นช่วงของนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ผนวกกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้มีนโยบายจินตนาการใหม่ที่เน้นเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจจากสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องและจัดตั้งเป็นจุดผ่อนปรนบ้านหนองมนและตลาดชายแดนขึ้นใน พ.ศ.2542 และเปิดทำการในวันพุธ ศุกร์ และอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำมาสู่ความสัมพันธ์ทางการค้าที่เข้มข้นโดยมีเงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งต่างจากเดิมที่มักเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนสินค้า ระหว่างกัน สินค้านำเข้าจากสปป.ลาว ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย ได้แก่ เครื่องจักสาน ยาสมุนไพร ของป่าตามฤดูกาล เป็นต้น ส่วนอาหารสด อาหารสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า มักเป็นสินค้าที่เป็นที่นิยมของชาวลาว  
Author
585080038-5 Miss SUDARAT SRIUBON [Main Author]
Humanities and Social Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum