2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาตาม แนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 เมษายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ : ประสาทวิทยาศาสตร์ เชิงปัญญาและเทคโนโลยีการศึกษา ครั้งที่ 1 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมโมษะ ขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 เมษายน 2560 
     ถึง 4 เมษายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2017 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 26-27 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดทฤษฎีการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนา ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ในการนำเสนอครั้งนี้นำเสนอผลของการออกแบบและพัฒนา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเอกสารโดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยคือ (1) การศึกษาหลักการ ทฤษฎี (2) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (3) การศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้อง (4) การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (5) การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้กรอบการคิดวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้ (1) การจำแนกแยกแยะ (2) การระบุความสัมพันธ์เชิงเหตุผล และ (3) การจัดหมวดหมู่ ผลจากการวิจัยพบว่า 1. การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฏี ประกอบด้วยพื้นฐานสำคัญ ดังนี้ พื้นฐานด้านบริบท พื้นฐานด้านจิตวิทยาการ เรียนรู้ พื้นฐานเทคโนโลยี พื้นฐานการคิดวิเคราะห์ และพื้นฐานด้านศาสตร์การสอนโมเดลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ 2. การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ได้กรอบแนวคิดการออกแบบเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ (1) การกระตุ้นการสร้างโครงสร้างทางปัญญา (2) การสนับสนุนการปรับสมดุลทางปัญญา (3) การส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ (4) การส่งเสริมและช่วยเหลือการปรับสมดุลทางปัญญา และประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) สถานการณ์ปัญหา (2) แหล่งเรียนรู้ (3) ฐานการช่วยเหลือ (4) การโค้ช (5) การร่วมมือกันแก้ปัญหา (6) เครื่องมือทางปัญญา (7) ศูนย์ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์  
ผู้เขียน
585050063-4 นาย ศุภกร ยืนยง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0