2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura))โรคใบขาวอ้อย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 มกราคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 19  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 มกราคม 2561 
     ถึง 30 มกราคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ 1 (2561) 
     หน้าที่พิมพ์ 31 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ เพลี้ยจักจั่น (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) เป็นแมลงพาหะนำเชื้อไฟโตพลาสมาโรคใบขาวอ้อย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยสายที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ พบว่า แมลงที่ดูดกินต้นอ้อยรูปทรงพุ่มและลำต้นเดี่ยวพันธุ์ขอนแก่น 3 ไม่มีผลความแตกต่างต่อการเจริญเติบโตของแมลง ส่วนแมลงพาหะที่ดูดกินบนรูปร่างสัณฐานของอ้อย 6 สายพันธุ์ (ขอนแก่น 3, Q229, UT17, UT13 และอ้อยป่า (Saccharum spontaneum; (ThS98-185) และอ้อยป่าพันธุ์ Erianthus spp; (ThE10-6)) พบว่าแมลงที่ดูดกินบนอ้อยป่า ThS98-185 มีการรอดชีวิตมากที่สุด 85%, รองมาคือพันธุ์ขอนแก่น 3, UT13, UT17, Q229 และ ThE10-6 มีการรอดชีวิต 75%, 62.50%, 45%, 37.50% และ ไม่มีการรอดชีวิต ตามลำดับ สอดคล้องกับผลการวัดระยะเวลาการดูดกินในชั้นท่ออาหาร (phloem) พบว่าแมลงชอบดูดกินมากบน อ้อยป่า ThS98-185 และ พันธุ์ขอนแก่น 3 ไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีระยะเวลาการดูดกินเฉลี่ยนานที่สุด 8.62±1.04 และ 8.50±1.00 นาที และ จำนวนความถี่ในการดูดกินมาก 42.21±7.20 และ 40.94±3.48 ครั้ง ตามลำดับ ตรงข้ามกับอ้อยป่าพันธุ์ ThE10-6 และพันธุ์ Q229 ที่มีลำต้นแข็งและแมลงไม่ชอบดูดกิน โดยมีระยะเวลาการดูดกินเฉลี่ยน้อย 2.42±0.10 และ 3.92±0.42 นาที และ จำนวนความถี่ในการดูดกินน้อยเช่นกัน 26.96±2.86 และ 27.60±2.33 ครั้ง ตามลำดับ ส่วนพันธุ์ UT17 และ UT13 แมลงมีการรอดชีวิต และการชอบในการดูดกินในระดับปานกลาง ดังนั้นการศึกษานี้สามารถนำลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยที่มีความทนทานต่อการเจริญเติบโตและการดูดกินของแมลงไปใช้เป็นแนวทางปรับปรุงพันธุกรรมของอ้อยเพื่อลดการระบาดของแมลงพาหะและโรคใบขาวได้อย่างยั่งยืน 
ผู้เขียน
595030004-3 น.ส. สุนิศา สุนทร [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลระดับดีเด่น ในการนำเสนอแบบบรรยาย ประเภทนักศึกษา 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 30 มกราคม 2561 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum