2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การวิเคราะห์การออกแบบโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด 
Date of Acceptance 16 May 2018 
Journal
     Title of Journal วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard  
     Institute of Journal กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     Volume 13 
     Issue
     Month มกราคม-มีนาคม
     Year of Publication 2019 
     Page  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิเคราะห์โพรโทคอล และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ เพื่อวิเคราะห์การออกแบบโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายเป็นทีมการศึกษาชั้นเรียน ในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่นท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 คน และครูผู้สังเกต 2 คน โดยกลุ่มเป้าหมายดำเนินการออกแบบโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียน ของ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2559) ซึ่งมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดขอบเขตของเนื้อหา 2) การพิจารณาแนวคิดของนักเรียน 3) การพิจารณาพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียน 4) การพิจารณาการบูรณาการเนื้อหากับการสอน และ 5) การพิจารณาความรู้คณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับการสอน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดพบองค์ประกอบ ดังนี้ 1) การกำหนดขอบเขตของเนื้อหา กลุ่มเป้าหมายพิจารณาการกำหนดขอบเขตเนื้อหาในทุกแผนการจัดการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ 2) การพิจารณาแนวคิดของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายมีการพิจารณาแนวคิดของนักเรียนในการออกแบบโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในทุกแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการคาดการณ์แนวคิดของนักเรียนที่ตอบสนองต่อโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และจัดลำดับแนวคิดของนักเรียนเพื่อการอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดของนักเรียน 3) การพิจารณาพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายมีการพิจารณาพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนในการออกแบบโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในบางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการคำนึงถึงความสามารถทางการคิดของนักเรียนในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 4) การพิจารณาการบูรณาการเนื้อหากับการสอน กลุ่มเป้าหมายมีการพิจารณาการบูรณาการเนื้อหากับการสอนในการออกแบบโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในบางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการพิจารณาเนื้อหาสาระที่ต้องการสอนและแนวทางการสอน รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมตามลำดับการสอนก่อนหลังอย่างเหมาะสม 5) การพิจารณาความรู้คณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับการสอน กลุ่มเป้าหมายมีการพิจารณาความรู้คณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับการสอนในการออกแบบโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในบางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการตั้งจุดประสงค์ที่ตรงกับเนื้อหา 
     Keyword การออกแบบโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, การศึกษาชั้นเรียน, วิธีการแบบเปิด 
Author
565050007-2 Miss RUJIREKH SAIYANT [Main Author]
Education Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0

<
forum