2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ The effect of intensity of exercise on heart rate variability during exercise in Thai patients with type 2 diabetes mellitus  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 18 พฤศจิกายน 2558 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติ ครั้งที่ 1 (Active Living for All) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.๗ 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 พฤศจิกายน 2558 
     ถึง 18 พฤศจิกายน 2558 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 192-193 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ผลของระดับความหนักของการออกกำลังกายต่อความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ ในขณะออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 The effect of intensity of exercise on heart rate variability during exercise in Thai patients with type 2 diabetes mellitus ยุภาพร คานเพชรทา (Yupaporn Kanpetta), นันทยา กระสวยทอง (Nantaya Krasuaythong), จงจิรา บุญทองแก้ว (Chongchira Boontongkaew), ดุษณี วงศ์ปัน (Dussanee Wongpan), ศักดรินทร์ ธรรมวงศ์ (Sakdarin Thammawong), รศ.ดร.เทอดไทย ทองอุ่น (Assoc. Prof.Dr.Terdthai Tong-un), ผศ.อรทัย ตันกำเนิดไทย (Assit. Prof.Oratai Tunkamnerdthai), รศ.ดร.นฤมล ลีลายุวัฒน์ (Assoc.Prof.Dr.Naruemon Leelayuwat) สถาบัน / Institute กลุ่มวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา มหาวิทยาลัยขอนแก่น Exercise and Sport Sciences Development and Research Group, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand ปีที่ศึกษาวิจัยแล้วเสร็จ / Year of completion 2558 /2015 e-mail address: yupaporn.kan@gmail.com บทคัดย่อ วัตถุประสงค์และวิธีการศึกษา: เพื่อศึกษาผลของระดับความหนักของการออกกำลังกายต่อความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในขณะออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาสาสมัครชายจำนวน 7 คน ปั่นจักรยานที่ระดับความหนัก 25 % (เบา) และ 65 % (ปานกลาง) ของสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ซึ่งในแต่ละระดับความหนักอาสาสมัครปั่นจักรยานเป็นเวลา 10 นาที ห่างกันอย่างน้อย 7 วัน คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะถูกบันทึกตลอดการทดสอบ เพื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะรายผลเป็นความถี่ ได้แก่ ความถี่สูง หรือเอชเอฟ ความถี่ต่ำ หรือแอลเอฟ และอัตราส่วนระหว่างความถี่ต่ำต่อความถี่สูง หรือ แอลเอฟเปอร์เอชเอฟ และนอกจากนี้ยังรายงานผลเป็นเวลา ได้แก่ เอสดีเอ็นเอ็นและอาร์เอ็มเอสเอสดี ข้อค้นพบ: ผลการทดลองพบว่าอาสาสมัครปั่นจักรยานได้จริงที่ระดับความหนัก 30 และ 62 % ของสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ในขณะออกกำลังกายที่ระดับความหนักปานกลางอาสาสมัครมีค่าอาร์เอ็มเอสเอสดี เอชเอฟ และแอลเอฟ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับขณะพัก อย่างไรก็ตามไม่พบการเปลี่ยนแปลงของความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในขณะออกกำลังกายที่ระดับความหนักเบา ข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเธติกลดลงขณะออกกำลังกายระดับปานกลางแต่ไม่เปลี่ยนแปลงขณะออกกำลังกายระดับเบา คำสำคัญ: กิจกรรมทางกาย การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ABSTRACT PURPOSE & METHODOLOGY: The aim of this study was to determine the effect of intensity of exercise on heart rate variability (HRV) during exercise in Thai patients with type 2 diabetes mellitus (T2DM). Seven male patients with T2DM cycled at 25% (low) and 65% (moderate) of peak oxygen consumption for 10 minutes with at least 7 days apart. Electrocardiogram was recorded continuously at rest and throughout the exercise to analyze HRV which is reported as frequency (The high frequency; HF, The low frequency; LF, The ratio of low-frequency to high-frequency; LF/HF) and time (The standard deviation of all normal R-R intervals; SDNN, The square root of the mean of the sum of the squares of differences between closest RR intervals; RMSSD) domains. FINDING: Measured intensity of exercise of subjects were 30% and 62% of peak oxygen consumption. At moderate intensity of exercise, subjects had significantly lower RMSSD, HF and LF during exercise than at rest. However, there were no significant diference in any HRV parameters at low intensity of exercise. RECOMMENDATION: Patients with T2DM had decreased parasympathetic activity during exercise at moderate intensity but unchanged parasympathetic activity during exercise at low intensity. Keywords: Physical activity, Heart rate variability, Hyperglycemia  
ผู้เขียน
547100026-3 น.ส. ยุภาพร คานเพชรทา [ผู้เขียนหลัก]
บัณฑิตวิทยาลัย ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0