2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลอง เรื่อง การระเหย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 31 กรกฎาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 12 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 11 
     Issue (เล่มที่) 11 
     หน้าที่พิมพ์
     Editors/edition/publisher สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวารสาร และบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การระเหย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลอง กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ที่ศึกษาในปีการศึกษาที่ 2/2560 จำนวน 28 คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ แบบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การระเหย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเฉลี่ยเลขคณิตซึ่งแสดงผลเป็นร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการสร้างแบบจำลองที่แสดงด้วยภาพวาดของนักเรียนก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 82) หลังเรียนอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 64 ) 2) ความสามารถในการสร้างแบบจำลองที่แสดงด้วยข้อความมโนมติของนักเรียนก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 86) หลังเรียนอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 46) 3) ความสอดคล้องระหว่างภาพวาดและข้อความมโนมติของนักเรียนก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 92) หลังเรียนอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 49)นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 องค์ประกอบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เนื่องจากในการจัดการเรียนรู้นักเรียนได้เก็บข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งแสดงปรากฏการณ์ในระดับมหภาค และข้อมูลที่เป็นภาพ 2 มิติ ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ซึ่งแสดงปรากฏการณ์ในระดับจุลภาค รวมถึงข้อมูลที่เป็นข้อความมโนมติมาใช้ในพิจารณาเพื่อประเมินและปรับปรุงแบบจำลอง ส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนาระดับความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงสรุปว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองสามารถส่งเสริมความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ 
ผู้เขียน
585050188-4 น.ส. ณัฐนรี คณะเมือง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0