Research Title |
ผลทันทีของการฝึกลุกขึ้นยืนต่อความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่เดินได้
|
Date of Distribution |
7 December 2017 |
Conference |
Title of the Conference |
The 1st National Conference on Health Sciences Research and Innovation: Knowledge Transformation towards Thailand 4.0 |
Organiser |
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับ สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สภาการสาธารณสุขชุมชน และการกีฬาแห่งประเทศไทย |
Conference Place |
อาคารศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้ (M-Square) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
Province/State |
จังหวัดเชียงราย |
Conference Date |
7 December 2017 |
To |
8 December 2017 |
Proceeding Paper |
Volume |
- |
Issue |
- |
Page |
- |
Editors/edition/publisher |
- |
Abstract |
การลุกขึ้นยืนเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตประจำวันที่ต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆใกล้เคียงกับการเดินดังนั้นกิจกรรมนี้จึงมักนำมาใช้ในการประเมินและส่งเสริมความสามารถทางการเคลื่อนไหวของอาสาสมัครกลุ่มต่างๆแต่ยังไม่พบข้อมูลยืนยันประสิทธิภาพของการฝึกลุกขึ้นยืนในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่สามารถเดินได้เองดังนั้นการวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาผลทันทีของการฝึกลุกขึ้นยืนต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาสาสมัครบาดเจ็บไขสันหลังจำนวน 27 รายได้รับการฝึกลุกขึ้นยืนเป็นเวลา 20 นาทีตามด้วยการฝึกเดิน 10 นาทีอาสาสมัครได้รับการประเมินความสามารถด้านการเคลื่อนไหวประกอบด้วย 10-meter walk test (10MWT) และtimed up and go test (TUGT) ก่อนและหลังการฝึกใช้สถิติdependent samples t-test สำหรับการเปรียบเทียบผลการศึกษาโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่p<0.05 อาสาสมัครมีอายุเฉลี่ย 49.85±13.75 ปีส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีความรุนแรงของพยาธิสภาพค่อนข้างน้อย (American Spinal cord injury Association Impairment Scale D) และอยู่ในระยะเรื้อรังโดยมีระยะเวลาหลังการบาดเจ็บมากกว่า 6 ปี ภายหลังการฝึกพบว่า 10MWT และTUGT มีค่าดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (10MWT ดีขึ้น 0.04±0.07 เมตรต่อวินาทีและTUGT ลดลง 2.08±4.95 วินาทีp<0.05) การฝึกลุกขึ้นยืนช่วยเพิ่มความสามารถด้านการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับการเดินและความเสี่ยงต่อการล้มในอาสาสมัครบาดเจ็บไขสันหลังที่มีระยะเวลาหลังการบาดเจ็บเป็นเวลานานได้ทันทีภายหลังการฝึกผลที่ได้อาจช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของการฟื้นฟูความสามารถทั้งในโรงพยาบาลชุมชนและบ้านผู้ป่วยอย่างไรก็ตามข้อมูลที่พบได้จากการทดลองในอาสาสมัครเพียง 1 กลุ่มดังนั้นการศึกษาต่อยอดโดยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมจะช่วยยืนยันการนำการลุกขึ้นยืนมาใช้ในการฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น |
Author |
|
Peer Review Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
ชาติ |
Type of Proceeding |
Abstract |
Type of Presentation |
Oral |
Part of thesis |
true |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
Presentation awarding |
true |
Award Title |
การนำเสนอด้วยวาจาระดับดีมาก |
Type of award |
รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ |
Organiser |
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
Date of awarding |
8 ธันวาคม 2560 |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|