2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กลยุทธ์การตลาดในการเพิ่มจำนวนบัตรกดเงินสด ธนาคารออมสิน สาขาสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 กันยายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ ระดับชาติ ประจำปี 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารสุนทร-อารยา อรุณานนท์ชัย 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 กันยายน 2561 
     ถึง 23 กันยายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 630-636 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาอิสระเรื่องกลยุทธ์การตลาดในการเพิ่มจำนวนบัตรกดเงินสด ธนาคารออมสิน สาขาสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรกดเงินสด และกำหนดกลยุทธ์การตลาดในการเพิ่มจำนวนบัตรกดเงินสด ธนาคารออมสิน สาขาสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มลูกค้า จำนวน 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.50 ไม่มีบัตรกดเงินสด ส่วนกลุ่มตัวที่มีบัตรกดเงินสดส่วนใหญ่มีบัตรกดเงิน 1 ใบ เหตุผลที่ตัดสินใจใช้เนื่องจากเงื่อนไขในการสมัครไม่ยุ่งยาก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการบัตรกดเงินสด ในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน ให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่ให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และปัจจัยที่ให้ความสำคัญในระดับมาก ได้แก่ ด้านพนักงาน) ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั่วไป สภาพแวดล้อมการแข่งขัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม และโทว์เมตริกซ์ สามารถกำหนดกลยุทธ์การตลาดในการเพิ่มจำนวนบัตรกดเงินสด 4 โครงการ คือ 1) โครงการเดินตลาดรุกเข้าหาลูกค้า 2) โครงการคอลเซลลิ่ง (Call Selling) 3) โครงการบลูปรินท์ และ 4) โครงการครบทุกเรื่องสินเชื่อบัตรกดเงินสด 
ผู้เขียน
595740098-3 น.ส. นภัสวรรณ อุ่นคำ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0