2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดการสมัครใช้บริการแอพพลิเคชั่น K PLUS SHOP ของธนาคารกสิกรไทย สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 กันยายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ ระดับชาติ ประจำปี 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารสุนทร-อารยา อรุณานนท์ชัย 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 กันยายน 2561 
     ถึง 23 กันยายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 52-57 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการและส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่นรับชำระเงินผ่านคิวอาร์ โค้ด (QR Code) และจัดทำกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดการสมัครใช้บริการแอพพลิเคชั่น K PLUS SHOP ของธนาคารกสิกรไทย สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ประกอบการร้านค้าที่ตั้งในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 200 คน ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66 ใช้บริการแอพพลิเคชั่นรับชำระเงินผ่านคิวอาร์ โค้ด โดยมีสาเหตุที่เลือกใช้จากการที่พนักงานธนาคารเข้ามาแนะนำและชักชวนให้ใช้บริการ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ทำให้ตัดสินใจใช้บริการรับชำระเงินผ่านคิวอาร์ โค้ด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านพนักงาน ด้านกระบวนการ ให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด ในขณะที่ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านหลักฐานกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ให้ความสำคัญในระดับมาก หลังจากนั้นการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั่วไป สภาพแวดล้อมการแข่งขัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ (TOWS Matrix) ทำให้กำหนดกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดการสมัครใช้บริการแอพพลิเคชั่น K PLUS SHOP ของธนาคารกสิกรไทย สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น 4 โครงการ ได้แก่ โครงการของแถมสุดชิค โครงการเปิดปุ๊บ รับปิ๊บ QR Code โครงการสปอตเตะตา และโครงการเดินตลาดกระชับมิตร  
ผู้เขียน
595740196-3 น.ส. ชนิกามาศ ยายืน [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0