2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายนมเปรี้ยวยาคูลท์ของ หจก. ขอนแก่นนพเก้า (ยาคูลท์ขอนแก่น) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 กันยายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ ระดับชาติ ประจำปี 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารสุนทร-อารยา อรุณานนท์ชัย 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 กันยายน 2561 
     ถึง 23 กันยายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 838-843 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลด้านพฤติกรรมและปัจจัยทางการตลาดของผู้บริโภคที่มีผลต่อการซื้อนมเปรี้ยวยาคูลท์ และ 2) เสนอกลยุทธ์ทางการตลาดในการเพิ่มยอดขายนมเปรี้ยวยาคูลท์ของ หจก.ขอนแก่นนพเก้า ทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มลูกค้า จำนวน 400 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป สภาพแวดล้อมการแข่งขัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม และโทว์เมตริกซ์ ผลจากการศึกษาพบว่า เหตุผลที่ลูกค้าส่วนใหญ่ดื่มนมเปรี้ยวยาคูลท์เนื่องจากช่วยเรื่องระบบขับถ่ายและรสชาติดี/อร่อย โดยซื้อจากพนักงานขายเขตที่บ้าน/ที่ทำงาน สิ่งสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจซื้อนมเปรี้ยวยาคูลท์ คือ รูปแบบและความสมบูรณ์ของสินค้า/วันหมดอายุ รูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่ต้องการ ได้แก่ การมีของแถมตามโอกาส เช่น พวงกุญแจ กระเป๋าเก็บความเย็น ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อนมเปรี้ยวยาคูลท์ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านพนักงาน ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ ให้ความสำคัญระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ให้ความสำคัญระดับมาก ผลการศึกษานำมาสู่กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายนมเปรี้ยวยาคูลท์ จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 นิวไลท์เพื่อคนรักสุขภาพ โครงการที่ 2 พิชิตเป้าเที่ยวต่างแดน โครงการที่ 3 กิมมิคของที่ระลึก โครงการที่ 4 ซุปเปอร์ไวเซอร์ ซุปเปอร์โมเดล และโครงการที่ 5 นิวโซนนิ่ง (New Zoning)  
ผู้เขียน
595740285-4 นาย อธิพงศ์ ตรงเที่ยงธรรม [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0