ชื่อบทความ |
โมเดลการวัดสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
27 กันยายน 2561 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
7 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กันยายน-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะและพฤติกรรมบ่งชี้การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 304 คน การวิจัยดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสมรรถนะและพฤติกรรมการบ่งชี้การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ขั้นที่ 2 ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดสมรรถนะการปฏิบัติงาน โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ประกอบด้วย (1) สมรรถนะหลัก มี 5 สมรรถนะ คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และการทำงานเป็นทีม (2) สมรรถนะสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ มี 5 สมรรถนะ คือ การคิดวิเคราะห์ การมีความรู้ การมีความเข้าใจผู้อื่น การมีความรับผิดชอบ การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสื่อสาร โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ รวม 208 พฤติกรรมบ่งชี้ 2)โมเดลการวัดสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 35.102, df = 24, p-value = 0.067, χ2/df =1.463 ; CFI = 0.995; TLI = 0.990 ; RMSEA =0.050; SRMR = 0.021) แสดงให้เห็นหลักฐานสนับสนุนความตรงเชิงโครงสร้างของสมรรถนะการปฏิบัติงาน |
คำสำคัญ |
โมเดลการวัดสมรรถนะ, สมรรถนะการปฏิบัติงานนักวิชาการศึกษา |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|