2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะพันธุ์ปลาสลิด (Trichopodus pectoralis) ด้วยวิธีการเพิ่มช่วงเวลาที่ปลาได้รับแสงในรอบวัน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 1 พฤศจิกายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 14 “University in Disruptive Era” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดพิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 พฤศจิกายน 2561 
     ถึง 1 พฤศจิกายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 54-64 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะพันธุ์ปลาสลิด (Trichopodus pectoralis) ด้วยวิธีการเพิ่มช่วงเวลาที่ปลาได้รับแสงในรอบวัน (photoperiod) จาก 12.5L:11.5D (light:dark) ที่ปลาได้รับจากแสงธรรมชาติ (natural photoperiod: NP) เป็น 18L:6D โดยใช้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ (daylight: 6500k) ที่ระดับความสว่างที่ผิวน้ำ 1,000 lux (artificial long-photoperiod: ALP) เพื่อกระตุ้นความสมบูรณ์เพศก่อนทำการเพาะพันธุ์เป็นเวลา 60 วัน (20 มิ.ย.–18 ส.ค. 2560) (การทดลองที่ 1) และหลังการวางไข่เป็นเวลา 60 วัน (26 ส.ค.–24 ต.ค. 2560) (การทดลองที่ 2) พบว่า แม่พันธุ์ปลาสลิดในชุดการทดลอง ALP ทั้ง 2 การทดลอง มีปริมาณฮอร์โมน 17β-Estradiol (E2) ในเลือดและมีค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI) เพิ่มขึ้นกว่าปลาในชุดการทดลอง NP (P>0.05) ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาเนื้อเยื่อวิทยาของรังไข่ (ovary histology) ที่แสดงให้เห็นว่า ช่วงระยะเวลาที่ปลาได้รับแสงในรอบวันที่เพิ่มขึ้นสามารถกระตุ้นให้ไข่ของปลาในชุดการทดลอง ALP พัฒนาจนเข้าสู่ระยะสมบูรณ์ (final oocyte maturation) ได้มากกว่าปลาในชุดการทดลอง NP อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ซึ่งผลจากการทดลองที่ 1 พบว่า ปลาในชุดการทดลอง ALP ให้ผลผลิตลูกพันธุ์ 2,852±352 ตัว สูงกว่าชุดการทดลอง NP ที่ให้ผลผลิตลูกพันธุ์ 720±107 ตัว อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มช่วงระยะเวลาที่ปลาได้รับแสงในรอบวันสามารถกระตุ้นให้ปลามีระดับความสมบูรณ์เพศเพิ่มขึ้นและให้ผลผลิตลูกพันธุ์มากกว่าปลาที่ได้รับแสงธรรมชาติ  
ผู้เขียน
577030022-3 นาย ธนสรณ์ รักดนตรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ
547030023-8 น.ส. ทัศนีย์ อนุกูลประเสริฐ
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ
595030061-1 นาย ศตพร โนนคู่เขตโขง
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ
557030013-2 นาย ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล การนำเสนอผลงานดีเด่น ประเภท Oral Presentation 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 1 พฤศจิกายน 2561 
แนบไฟล์
Citation 0