ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การกระตุ้นความสมบูรณ์เพศของปลาสลิด (Trichopodus pectoralis) ด้วยวิธีการเพิ่มช่วงเวลาที่ปลาได้รับแสงในรอบวันและอุณหภูมิน้ำเพื่อทำการเพาะพันธุ์นอกฤดู |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
11 ธันวาคม 2561 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
งานประชุมวิชาการประมงระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
จังหวัด/รัฐ |
จังหวัดเชียงใหม่ |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
11 ธันวาคม 2561 |
ถึง |
13 ธันวาคม 2561 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
- |
Issue (เล่มที่) |
- |
หน้าที่พิมพ์ |
25-26 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ ศึกษาการกระตุ้นความสมบูรณ์เพศของปลาสลิด (Trichopodus pectoralis) เพศเมีย เพื่อทำการเพาะพันธุ์นอกฤดูสืบพันธุ์ด้วยวิธีการเพิ่มช่วงเวลาที่ปลาได้รับแสงในรอบวัน (photoperiod) ให้ยาวนานขึ้นร่วมกับการเพิ่มอุณหภูมิน้ำให้สูงขึ้นจาก 12L:12D (light:dark) และ 24.75±0.30oC ที่ปลาได้รับจากแสงและอุณหภูมิน้ำตามธรรมชาติ (natural photoperiod: NP) เป็น 18L:6D และ 28.43±0.09oC โดยใช้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ (daylight: 6500k) ที่ระดับความสว่างที่ผิวน้ำ 1,000 lux (artificial long-photoperiod: ALP) เป็นเวลา 60 วัน (20 ม.ค.–20 มี.ค. 2560) พบว่า ชุดการทดลอง ALP สามารถกระตุ้นให้ปลามีระดับฮอร์โมน 17β-estradiol (E2) ในเลือดเพิ่มขึ้นสูงกว่า NP อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยปลาในชุดการทดลอง ALP มีค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (GSI) เพิ่มขึ้นเป็น 10.26±0.36 ซึ่งมีความสมบูรณ์เพศพร้อมที่จะทำการเพาะพันธุ์ได้ แต่ปลาในชุดการทดลอง NP ยังมีค่า GSI เพียง 2.63±0.19 โดยปลาในชุดการทดลอง ALP สามารถทำการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์กระตุ้นการตกไข่ได้สำเร็จตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งเร็วกว่าฤดูสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของปลาสลิด (มิ.ย.–ก.ย.) 3 เดือน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|