ชื่อบทความ |
แคริโอไทป์ของตุ๊กแกป่าไทรโยค (Cyrtodactylus saiyok Panitvong et al., 2014)
Karyotype of the Sai Yok Bent-toed Gecko, Cyrtodactylus saiyok Panitvong et al.,
2014 (Reptilia, Gekkonidae) |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
5 กรกฎาคม 2561 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ISBN/ISSN |
1686-9664 |
ปีที่ |
14 |
ฉบับที่ |
พิเศษ |
เดือน |
กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2561 |
หน้า |
655 |
บทคัดย่อ |
ตุ๊กแกป่าไทรโยค (Cyrtodactylus saiyok) เป็นตุ๊กแกป่าขนาดเล็กมีลักษณะจำเพาะโดยมีนิ้วเท้าโค้งงอและเล็บที่แหลมยาว เท้าไม่มีปุ่มดูด อาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้ ซอกหิน และโขดหินบนภูเขา พบแพร่กระจายเฉพาะในภาคตะวันตกของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์แคริโอไทป์ของตุ๊กแกป่าไทรโยค เก็บตัวอย่างจากพื้นที่เขากระแจะ ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เตรียมโครโมโซมโดยใช้เซลล์จากไขกระดูกและอัณฑะในเพศผู้ ย้อมสีโครโมโซมด้วยสีจิมซ่าและย้อมแถบสีแบบนอร์ จำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) ของตุ๊กแกป่าไทรโยคเท่ากับ 42 มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐาน (NF) เท่ากับ 42 แคริโอไทป์ประกอบด้วยโครโมโซมชนิดเทโลเซนทริกทั้งหมด มีสูตรแคริโอไทป์ ดังนี้ 2n (42) = Lt22 + Mt10 + St10 ตรวจไม่พบโครโมโซมเพศ พบตำแหน่งนอร์บริเวณปลายแขนข้างยาวบนโครโมโซมคู่ที่ 15 การศึกษาในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อด้านการอนุรักษ์ การศึกษาวิวัฒนาการของโครโมโซมรวมถึงเป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านพันธุศาสตร์ของสัตว์กลุ่มตุ๊กแกป่า |
คำสำคัญ |
ตุ๊กแกป่าไทรโยค, โครโมโซม, แคริโอไทป์ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|