ชื่อบทความ |
สินค้าสัตว์ป่า: ปฏิบัติการในชีวิตประจำวันของผู้ค้าลาว
ในตลาดชายแดนไทย – สปป.ลาว |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
29 มกราคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารไทยคดีศึกษา |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
16 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม - มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
173-229 |
บทคัดย่อ |
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิบัติการในชีวิตประจำวันของผู้ค้าลาวในการค้าขายสัตว์ป่าข้ามพรมแดนไทย–สปป.ลาว จุดผ่อนปรนบ้านหนองมน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามโดยวิธีการสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้รู้ในชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐไทย ผู้ค้าลาวข้ามพรมแดน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมการค้าชายแดน และผู้ซื้อสินค้าชาวไทย
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ค้าลาวได้ใช้กลวิธีต่าง ๆ ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดนที่เป็นการลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย อาทิ การใช้ปฏิบัติการตบตาเจ้าหน้าที่รัฐไทย ในการขายสินค้าที่ถูกกฎหมายบังหน้าแต่จะขายสินค้าประเภทสัตว์ป่าตามใบสั่งซื้อจากผู้บริโภค ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อปรับกิจกรรมการค้าให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐในมิติที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบต่างๆ ในการควบคุมการเดินทางข้ามแดนของผู้คนและสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อห้ามการซื้อขายสินค้าที่ระบุไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora – CITES) อนุสัญญาฯ ดังกล่าวส่งผลให้ผู้ค้าลาวไม่สามารถขายสัตว์ป่าได้อย่างเปิดเผยและเป็นอิสระดังเช่นในอดีต ผู้ค้าลาวจึงต้องใช้ปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยพื้นที่ เวลา และโอกาส ในการต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐไทยเพื่อให้กิจกรรมการค้าสัตว์ป่าให้สามารถดำเนินต่อไปได้
|
คำสำคัญ |
ผู้ค้าลาว สินค้าสัตว์ป่า ตลาดชายแดนไทย-สปป.ลาว ปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|