2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title แนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดโดยอาศัยลำดับวิธีการสอน 
Date of Distribution 26 January 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 5  
     Organiser สมาคมคณิตศาสตรศึกษา 
     Conference Place มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 26 January 2019 
     To 28 January 2019 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 20 
     Editors/edition/publisher สมาคมคณิตศาสตรศึกษา 
     Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) โดยอาศัยลำดับกิจกรรมการสอน (Flow of Lesson) โดยชั้นเรียนดังกล่าวใช้วิธีการแบบเปิดในฐานะแนวทางการสอน และใช้การศึกษาชั้นเรียนในฐานะแนวทางในการปรับปรุงแนวทางการสอนดังกล่าว (Inprasitha, 2015a) อนึ่ง ลำดับกิจกรรมการสอน ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่สร้างขึ้นใหม่ (coined term) ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแนวคิดของนักเรียน ประกอบด้วย (1) การแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน (2) สื่อกึ่งรูปธรรม และ (3) การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียน (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2560ก) การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ความยาว (1) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนธงชัยวิทยา จังหวัดลำปาง โดยอาศัยการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม (participative research) ซึ่งผู้วิจัยเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มการศึกษาชั้นเรียนที่ทำงานร่วมกันตามกระบวนการศึกษาชั้นเรียน ได้แก่ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน การสอนและสังเกตชั้นเรียนร่วมกัน และการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และคณะ, 2546; ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2557) และ ‘ลำดับกิจกรรมการสอน’ ถูกใช้เป็นกรอบแนวคิดหลักในการทำงานร่วมกันของกลุ่มการศึกษาชั้นเรียนในโรงเรียน ซึ่งเข้าร่วมโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยการวิเคราะห์โพรโทคอล (protocol analysis) และนำเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (analytic description) ผลการวิจัยที่วิเคราะห์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ แสดงให้เห็นว่านักเรียนสร้างแนวคิดในการแก้ปัญหา เรื่องความยาว (1) เริ่มต้นจากการวัดความยาวโดยอาศัยการเปรียบเทียบโดยตรง แล้วจึงพัฒนาแนวคิดเป็นการวัดความยาวโดยอาศัยหน่วยที่ไม่เป็นมาตรฐานหรือหน่วยที่นักเรียนสร้างขึ้นเอง เช่น ลำตัวของนักเรียน แผ่นกระเบื้องบนพื้น จนสามารถพัฒนาแนวคิดเป็นการวัดความยาวโดยอาศัยหน่วยวัดความยาวมาตรฐาน ได้แก่ เซนติเมตร (cm) และมิลลิเมตร (mm) ทั้งนี้การออกแบบลำดับกิจกรรมการสอนเพื่อดำเนินการสอนตามขั้นตอนของวิธีการแบบเปิดได้ถูกออกแบบไว้อย่างสอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ (learning objective) ของบทเรียน เป็นผลให้แนวคิดของนักเรียนก่อตัวขึ้นจากสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาก่อนหน้า รวมถึงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นตรงกับแนวคิดที่ได้คาดการณ์ไว้โดยกลุ่มการศึกษาชั้นเรียนในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกันด้วย 
Author
557050010-6 Miss PIMPAKA INTAROS [Main Author]
Education Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0