2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title อุปนิสัยในการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด  
Date of Distribution 26 January 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 5 "คณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนแนวใหม่เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน" 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยสมาคมคณิตศาสตรศึกษา  
     Conference Place มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 26 January 2019 
     To 28 January 2019 
Proceeding Paper
     Volume 2019 
     Issue
     Page 39 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจอุปนิสัยในการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียน ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิเคราะห์โพรโทคอลและการบรรยายเชิงวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน โรงเรียนบ้านโนนแสนคำหนองศาลาศรีสะอาด อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และเป็นชั้นเรียนที่อยู่ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งโรงเรียนมีการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ของศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ เครื่องบันทึกเสียง และแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การบวกเลขสองหลักที่มีตัวทด จำนวน 1 แผน ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วยโพรโทคอล และผลงานเขียนของนักเรียน ในการวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิดของ Cuoco, Goldenberg, and Mark (1996) ในการสำรวจหาอุปนิสัยในการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในช่วงที่นักเรียนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน ผลการวิจัย พบว่า ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด นักเรียนมีอุปนิสัยในการคิดทางคณิตศาสตร์ ดังนี้ 1) การคิดเกี่ยวกับการค้นพบแบบรูป โดยนักเรียนค้นพบแบบรูปของการบวกโดยใช้การทดได้แก่ การทด 10 หน่วย ให้เป็น 1 สิบ 2) การคิดเกี่ยวกับการทดลอง โดยนักเรียนมีการทดลองใช้แนวคิดของการบวกในแนวนอน การบวกในแนวตั้ง การใช้เหรียญ และ การใช้บล็อก ในการแก้ปัญหาการบวกโดยใช้การทด 3) การคิดเชิงนักอธิบาย โดยนักเรียนมีการอธิบายโดยใช้วิธีเขียนและอธิบายโดยใช้ปากเปล่า 4) การคิดเกี่ยวกับการเชื่อมประสาน โดยนักเรียนสามารถเชื่อมผสานแนวคิดต่างๆ ให้เข้ากันได้ 5) การคิดเชิงการประดิษฐ์ โดยนักเรียนได้ประดิษฐ์แนวคิดในการแก้ปัญหาโดยการออกแบบและเขียนแสดงเหตุผลด้วยภาษาของตนเอง ได้แก่ รวม ใส่ เข้า เพื่อแทนคำว่า “ทด” จากหลักหน่วยเป็นหลักสิบ 6) การคิดเชิงการวาดภาพ โดยนักเรียนสามารถแปลงข้อความของสถานการณ์ปัญหาออกมาเป็นภาพจำลองที่ช่วยให้นักเรียนมีแนวคิดหรือเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ ได้แก่ การวาดภาพแสดงแทนบล็อก การวาดภาพแสดงแทนเหรียญ 7) การคิดเชิงการคาดการณ์ โดยนักเรียนสามารถสร้างข้อคาดการณ์ที่สมเหตุสมผลเพื่อทำนายวิธีการแก้ปัญหาโดยการเขียนประโยคสัญลักษณ์ พร้อมทั้งแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และ 8) การคิดเชิงการคาดเดา โดยนักเรียนมีการคาดเดาคำตอบและแนวทางการแก้ปัญหา จากนั้นมีการตรวจสอบโดยการแสดงวิธีทำอย่าละเอียดเพื่อยืนยันการคาดเดาดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงแนวคิดในการแก้ปัญหา  
Author
577050014-0 Mr. THONG-OON MANMAI [Main Author]
Education Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum