ชื่อบทความ |
คุณลักษณะของเอนไซม์ไฮยาลูโรไนเดสลูกผสมจากน้ำพิษตัวต่อหลุม (Vespa tropica) ที่ได้รับการผลิตในระบบแบคทีเรีย |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
31 พฤษภาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารพิษวิทยาไทย |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
34 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
กรกฎาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
น้ำพิษต่อหลุม (Vespa tropica) ประกอบด้วยโมเลกุลที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมทั้งเอนไซม์ไฮยาลูโรไนเดส (HAase) ที่มีฤทธิ์เร่งปฏิกิริยาการสลายด้วยน้ำของกรดไฮยาลูโรนิก งานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์ยีนไฮยาลูโรไนเดสจาก cDNA ที่เตรียมจากต่อมพิษต่อหลุมด้วยเทคนิคพีซีอาร์ และสร้างสายพันธุ์กลายตำแหน่งเดียว (mHAase(N109L)) โดยแทนที่กรดอะมิโนตำแหน่งที่ 109 จากแอสพาราจีน (N) เป็นลิวซีน (L) ด้วยเทคนิคการกลายเฉพาะที่ นำชิ้นยีนเชื่อมกับ pET32a vector และถ่ายโอนเข้าสู่ E. coli BL21 กระตุ้นการแสดงออกด้วย 0.1 mM IPTG ที่อุณหภูมิ 18oC เวลา 16 ชั่วโมง ตรวจสอบการผลิตโปรตีนลูกผสมด้วยเทคนิคเจลอิเล็กโตรโฟริซิส พบแถบโปรตีนลูกผสม Re-HAase และ Re-mHAase(N109L) ขนาด 58 kDa และพบว่าโปรตีนลูกผสมไม่ละลายในบัฟเฟอร์ที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก จึงคืนสภาพด้วยการละลายในยูเรีย 4 โมลาร์ แล้วทดสอบฤทธิ์การสลายกรดไฮยาลูโรนิกด้วยวิธีทดสอบความขุ่น พบว่าโปรตีนลูกผสมทั้งสองมีค่าพีเอชพอเหมาะในการเร่งการสลายกรดไฮยาลูโรนิกเท่ากับ 5 ซึ่ง Re-HAase มีฤทธิ์เอนไซม์ไฮยาลูโรไนเดสในช่วง pH 3 ถึง 6 แต่ Re-mHAase(N109L) มีฤทธิ์เอนไซม์ช่วง pH 5 ถึง 6 ฤทธิ์นี้ต่ำกว่า Re-HAase ประมาณร้อยละ 50 และไม่มีฤทธิ์ใด ๆ ที่ pH น้อยกว่า 4 โดยที่ Re-mHAase(N109L) มีฤทธิ์เอนไซม์ไฮยาลูโรไนเดสเหลืออยู่ คาดว่าเป็นเพราะกรดอะมิโนแอสพาราจีน (N) ทำหน้าที่เป็นตำแหน่งจับกับกรดไฮยาลูโรนิก แล้วมีกรดอะมิโนอื่นที่ทำหน้าที่เป็นกรดอะมิโนสำคัญที่ช่วยเร่งปฏิกิริยา |
คำสำคัญ |
ไฮยาลูโรไนเดส, ต่อหลุม, Vespa tropica, การกลายพันธุ์เฉพาะที่ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|