ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การศึกษาความสัมพันธ์ของ hormion และมุมของฐานกะโหลกในการจำแนกเพศของประชากรคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The relationship of hormion and angle of the cranial base for estimating sex in northeast Thais |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
31 พฤษภาคม 2562 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 "การวิจัยเพื่อการพัฒนาการที่ยั่งยืน" |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชธานี |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชธานี |
จังหวัด/รัฐ |
อุบลราชธานี |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
31 พฤษภาคม 2562 |
ถึง |
31 พฤษภาคม 2562 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
4 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
515-523 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาทางด้านมานุษยวิทยามีความจำเป็นอย่างยิ่งในคดีที่มีผู้เสียชีวิตเป็นระยะเวลานานและเหลือเพียงโครงกระดูกเท่านั้น การระบุว่าโครงกระดูกที่พบเป็นเพศหญิง หรือเพศชาย มีช่วงอายุใด มีเชื้อชาติอะไร สามารถเป็นหลักฐานสนับสนุนงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการสืบสวน สอบสวนต่อไป การระบุบุคคลจากกะโหลกศีรษะเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เนื่องจากสามารถบอกถึงอายุและเพศของผู้เสียชีวิตได้ การศึกษาทางด้านสัณฐานวิทยาของมนุษย์ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษากะโหลกศีรษะในส่วนบริเวณ hormion การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ของ hormion และมุมของฐานกะโหลกในการจำแนกเพศของประชากรคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กะโหลกศีรษะ 329 กะโหลก (เพศชาย 165 กะโหลก และเพศหญิง 164 กะโหลก) ด้วยการวัดค่าตัวแปรบนกะโหลกศีรษะ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ hormion (ho) –bregma (b), basion (ba) – bregma (b) และ basion (ba) – hormion (ho) และหาพื้นที่สามเหลี่ยมภายในกะโหลกศีรษะจากการวัดตำแหน่งดังกล่าว เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกะโหลกศีรษะเพศชายและเพศหญิงด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ โดยผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าค่าตัวแปรที่มุมของกะโหลกศีรษะส่วน bregma และส่วน hormion ของเพศชายมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value เท่ากับ 0.021 และ 0.000 ตามลำดับ ค่าตัวแปรมุมของกะโหลกศีรษะส่วน basion และพื้นที่สามเหลี่ยมภายในกะโหลกศีรษะของเพศชายมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value เท่ากับ 0.000 ความสัมพันธ์ของกระดูกบริเวณ hormion และมุมของฐานกะโหลกศีรษะ สามารถนำมาใช้ในการจำแนกเพศของประชากรคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|