2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ Naga Beliefs in Isan: Buddhist and Brahmanical 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 พฤศจิกายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม 14th International Conference on Humanities & Social Sciences 2018 (IC-HUSO 2018) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University 
     สถานที่จัดประชุม Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University 
     จังหวัด/รัฐ Khon Kaen  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 พฤศจิกายน 2561 
     ถึง 23 พฤศจิกายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 14 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 942 - 952 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งอธิบายถึงความเหมือนและความแตกต่างของความเชื่อเรื่องพญานาคระหว่างความเชื่อแบบพุทธและพราหมณ์ ภายใต้บริบทสังคมอีสาน โดยใช้แนวคิดความเชื่อมาช่วยในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าวที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ รวบรวมข้อมูลจากการสังเคราะห์เอกสาร และศึกษาวิเคราะห์ผ่านลักษณะพิธีกรรมการนับถือบูชาพญานาคของชาวอีสานที่อาศัยบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดมุกดาหาร ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า สังคมอีสานที่มีเรื่องราวของพญานาคผูกพันกับการดำรงชีวิตของชาวอีสาน ทั้งในด้านพิธีกรรมการเกษตร ศิลปะ และสถาปัตยกรรม สืบเนื่องมาจากอิทธิพลด้านความเชื่อโบราณและศาสนา ล้วนผสมผสานกันจนกลายเป็นอัตลักษณ์ของชาวอีสาน ในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคในศาสนาพุทธมีความเชื่อว่าพญานาคมีอยู่จริงและเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ปรากฏความเชื่อพญานาคในประเพณีงานบุญต่างๆ เช่น ประเพณีบวชนาค ประเพณีออกพรรษา ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นต้น สำหรับศาสนาพราหมณ์ได้มีความเชื่อเรื่องพญานาคว่า พญานาคเป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ ซึ่งมีชื่อว่าพญาอนันตนาคราช เป็นต้นกำเนิดของตำนานนารายณ์บรรทมสินธุ์ แม้ว่าพุทธและพราหมณ์จะมีตำนานความเชื่อที่มีความเป็นมาแตกต่างกัน แต่ในลักษณะการบูชาหรือพิธีบวงสรวงพญานาคของพุทธและพราหมณ์ มีเชื่อมโยงความเชื่อคล้ายคลึงกัน โดยในพิธีกรรมต่างๆ มักปรากฏ พระ ฤๅษี พราหมณ์ เป็นผู้ดำเนินพิธี และขั้นตอนพิธี และบทสวด มักผสมผสานทั้งพุทธและพราหมณ์เข้าไว้ด้วยกัน  
ผู้เขียน
605080014-1 น.ส. จิตติมา พัฒนธนาภา [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum