2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนของนักเรียนมัธยม ในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. 
Date of Acceptance 20 June 2019 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ ,มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ 043-347 057 ต่อ 42825 
     ISBN/ISSN 1906-1137 
     Volume 12 
     Issue
     Month ตุลาคม ถึง ธันวาคม
     Year of Publication 2019 
     Page  
     Abstract บทคัดย่อ ปัจจุบันการใช้งานสมาร์ตโฟนที่มากจนเกินไป ทำให้เกิดพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน ซึ่งผู้ที่มีภาวะวิตกกังวล และผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับการใช้สมาร์ตโฟนไม่ว่าจะเป็นอาการเกี่ยวกับสายตา กล้ามเนื้อ ความอ้วน เป็นต้น มักจะมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน มากกว่าคนทั่วไป โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562จำนวน 4 โรงเรียน รวมทั้งหมด 602 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression analysis) แสดงผลด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95%CI) ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความชุกพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนร้อยละ 58.1 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) มีจำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ กลุ่มไม่ได้ใช้สมาร์ตโฟนเพื่อการศึกษามีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj = 9.63; 95%CI=3.84-24.16), กลุ่มที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj=2.35; 95%CI=1.42-3.87), กลุ่มที่ใช้สมาร์ตโฟน ≥ 8 ชั่วโมง/วัน มีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj =2.99; 95%CI=1.82-4.90), กลุ่มที่ตรวจเช็คสมาร์ตโฟน ≥ 40 ต่อ/วัน มีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj =5.72; 95%CI=2.81-11.64), กลุ่มที่มีภาวะวิตกกังวลมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj =3.29; 95%CI=1.44-7.52) และกลุ่มที่มีอาการที่เกี่ยวข้องจากการใช้สมาร์ตโฟนบางครั้ง/บ่อยครั้งมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน (ORadj =8.85; 95%CI=5.38-14.54) จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ปกครองและโรงเรียนควรมีมาตรการในการควบคุมดูแลการใช้งานสมาร์ตโฟนของนักเรียนให้เหมาะสม ได้แก่ ผู้ปกครองควรมีการกำหนดระยะเวลาในการใช้สมาร์ตโฟน และมีการแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมด้านอื่นๆ มีการกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับค่าบริการที่เกี่ยวกับสมาร์ตโฟน โรงเรียนควรมีกฎระเบียบการใช้สมาร์ตโฟนโดยให้นักเรียนใช้สมาร์ตโฟน ในห้องเรียนเพื่อการสืบค้น ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการศึกษาเท่านั้น หรือให้ครูประจำรายวิชาเก็บโทรศัพท์นักเรียนก่อนเริ่มการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยาพินิจของครูประจำรายวิชานั้นๆซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ และสังคมที่เกิดจากการมีพฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟนในอนาคตได้  
     Keyword คำสำคัญ : พฤติกรรมการติดสมาร์ตโฟน, ความชุก  
Author
605110111-8 Miss PEMIKA ORPRASERT [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0