2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 10 มิถุนายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจาปี 2562 เรื่อง “การศึกษาในยุคดิจิทัล: ความท้าทายของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
     สถานที่จัดประชุม อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 10 มิถุนายน 2562 
     ถึง 10 มิถุนายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 220-237 
     Editors/edition/publisher คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติงานตามระบบการควบคุมภายในของ อบต. โดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการทำงานของ Herzberg (1959) เป็นแนวทางในการศึกษา และได้ทำการเก็บข้อมูลจากบุคลากรส่วนการคลังใน อบต. จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 229 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสมการถดถอยพหุคูณ โดยแยกเป็น 2 กลุ่มคือ บุคลากรระดับหัวหน้า และระดับปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า ทั้งระดับหัวหน้าและระดับปฏิบัติการมีแรงจูงใจที่เป็นปัจจัยจูงใจมากกว่าปัจจัยบารุงรักษา โดยระดับหัวหน้ามีปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติมากที่สุด และระดับปฏิบัติการมีแรงจูงใจด้านสภาพการทำงานเป็นแรงจูงใจมากที่สุด และพบว่า แรงจูงใจในระดับหัวหน้าไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการปฏิบัติงาน แสดงว่า การปฏิบัติงานของระดับหัวหน้างานไม่ได้ขึ้นอยู่กับแรงจูงใจที่มี ส่วนการศึกษาระดับปฏิบัติการ แรงจูงใจด้านสภาพการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติงาน แสดงว่า สภาพการทำงานที่ดีจะทำให้บุคลากรมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในสูง ในขณะที่แรงจูงใจด้านสภาพชีวิตความเป็นอยู่และการมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หมายความว่า การทำงานนอกเวลาส่วนตัวเป็นสาเหตุของการลดแรงจูงใจในการทำงาน และการที่หัวหน้ากระตุ้นให้บุคลากรส่วนร่วมมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดความอึดอัดและลดแรงจูงใจในการทางานได้ ดังนั้น อบต.ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมแต่ต้องระวังไม่ให้บุคลากรรู้สึกว่าความคิดของเขาไม่สำคัญต่อองค์กร 
ผู้เขียน
575210007-3 น.ส. วิมลมาศ ไทยยินดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0