2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 
Date of Distribution 20 February 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมสัมมนาวิชาการ งานวัดผล ประเมินผลและวิจัยสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 
     Organiser มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยราขภัฏยะลา 
     Conference Place ณ โรงแรมบีพีสมิหลาบีชรีสอร์ท จ.สงขลา 
     Province/State จังหวัดสงขลา 
     Conference Date 20 February 2019 
     To 22 February 2019 
Proceeding Paper
     Volume 27 
     Issue 27 
     Page 62-63 
     Editors/edition/publisher
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรระดับนักเรียนและตัวแปรระดับโรงเรียน ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยตัวแปรระดับนักเรียนมี 5 ตัวแปรประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพศ 3) พื้นฐานความรู้เดิม 4) เจตคติของนักเรียนต่อวิชาวิทยาศาสตร์ 5)การส่งเสริมสนับสนุนจากครอบครัว ส่วนตัวแปรระดับโรงเรียนมี 3 ตัวแปรประกอบด้วย 1) ขนาดสถานศึกษา 2) ที่ตั้งสถานศึกษา และ 3) จำนวนครูวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1,288 คนจาก 18 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิจากผลการทดสอบด้วยข้อสอบมาตรฐานกลางของสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 เลือกศึกษาเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์และการส่งเสริมสนับสนุนจากครอบครัวนักเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์พหุระดับ 2 ระดับด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป HLM (Hierarchical Linear Model) ผลการวิจัย 1) ผลการวิเคราะห์ระดับนักเรียนพบว่าการส่งเสริมสนับสนุนจากครอบครัว มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และมีค่าความแปรปรวนระหว่างโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) ผลการวิเคราะห์ระดับโรงเรียน พบว่า ปัจจัยระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงสุด คือที่ตั้งสถานศึกษา (Locat) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.86 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
Author
597050016-8 Mr. PANUPONG SAENGDEE [Main Author]
Education Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis false 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0