2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความล้าของกล้ามเนื้อและการประเมินความเสี่ยงต่อการปวดหลังจากการทำงานในพนักงานยกเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรม  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 กรกฎาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 31 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ อาการปวดหลังมักพบในกลุ่มพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานที่ต้องออกแรงด้วยแรงกายและงานยกเคลื่อนย้ายวัสดุ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านการยศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความล้าของกล้ามเนื้อ และความเสี่ยงต่อการปวดหลังจากการทำงาน ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในพนักงานยกเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 12 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อประเมินความรู้สึกไม่สบาย ประเมินท่าทางการทำงานโดย REBA (Rapid Entire Body Assessment) และ NIOSH lifting’s equation ใช้เมตริกความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดหลัง จากค่าความชันของกราฟความถี่คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อกับระยะเวลา (MF/time slope) และวัดความล้า โดยใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ผลการศึกษา พบว่า จากการประเมินความรู้สึกไม่สบายของหลัง พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้สึกไม่สบายบริเวณหลังส่วนล่างในระดับเล็กน้อยร้อยละ 16.67 รองลงมารู้สึกไม่สบายในระดับมากร้อยละ 8.33 เมื่อประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ด้วย REBA พบว่าพนักงานทุกคนอยู่ในระดับ 3 (ความเสี่ยงสูง) ขณะทำงานยก และระดับ 2 (ความเสี่ยงปานกลาง) ขณะวางผลิตภัณฑ์ เมื่อนำมาพิจารณาเพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดหลังของพนักงานด้วยเมตริกความเสี่ยงที่คำนึงถึงความเสี่ยงทางการยศาสตร์ REBA และระดับของความรู้สึกไม่สบาย พบว่าระดับความเสี่ยงขณะยก โดยมีระดับความเสี่ยงระดับปานกลาง ร้อยละ 16.67 รองลงมาระดับยอมรับไม่ได้ร้อยละ 8.33 และระดับความเสี่ยงขณะวางส่วนใหญ่มีความเสี่ยงระดับเล็กน้อยร้อยละ 16.67 และระดับสูงร้อยละ 8.33 ผลการประเมินความเสี่ยงด้วย NIOSH พบว่า ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงระดับ 3 หมายถึง งานนั้นเริ่มมีปัญหาควรตรวจสอบเพื่อปรับปรุง ร้อยละ 66.67 และขณะวางมีความเสี่ยงระดับ 1 หมายถึง ภาวะที่ยอมรับได้ทุกคน เมื่อพิจารณาค่าความล้าของกล้ามเนื้อหลังส่วนบน พบค่าความชันของกราฟ ส่วนใหญ่มีความล้าของกล้ามเนื้อร้อยละ 75 และส่วนใหญ่กล้ามเนื้อหลังส่วนบนด้านขวามีความล้าของกล้ามเนื้อมากกว่าด้านซ้าย ร้อยละ 66.67 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ -3.18 และค่าเฉลี่ยรวมของซ้าย-ขวา เท่ากับ -4.52 นอกจากนี้ค่าความล้าของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ส่วนใหญ่มีความล้าของกล้ามเนื้อทุกคน และพบว่ามีความล้าของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างทั้งด้านซ้ายและขวาจำนวนเท่ากัน โดยค่าเฉลี่ยของกล้ามเนื้อทางด้านซ้าย มีค่าเท่ากับ -1.08 และด้านขวา มีค่าเท่ากับ -4.54 และมีค่าเฉลี่ยรวมสองด้านเท่ากับ -7.64 ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่าพนักงานยกเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรม มีการล้าของกล้ามเนื้อขณะยกเคลื่อนย้าย และมีความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดหลังระดับปานกลาง ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้พนักงานหลีกเลี่ยงท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมที่ส่งผลต่อความรู้สึกไม่สบายของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหลัง คือแนะนำให้ไม่ควรยกเหนือไหล่และการประคองน้ำหนักที่จับแน่นระดับอกหรือเหนือเอวเล็กน้อยและปรับเครื่องลำเลียงบ่อยขึ้นเพื่อได้ระดับหน้างานที่เหมาะสมกับสรีระ  
     คำสำคัญ งานยก, REBA, NIOSH lifting, เมตริกความเสี่ยง, Electromyography (EMG) 
ผู้เขียน
605110083-7 น.ส. ปริญญาภรณ์ แก้วยศ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0