2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ เอกลักษณ์ลวดลายแห่งความเชื่อในชุดประจำชาติพันธุ์ลาหู่มณฑลยูนนานประเทศจีน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติศิลปกรรมวิจัยครั้งที่ 3  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเจริญธานีขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 857-864 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ชุดประจำชาติพันธุ์ไม่เพียงแต่จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ยังแสดงถึงเอกลักษณ์ และคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียม จนกระทั่งรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน บทความนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบและลวดลายบนเสื้อผ้าที่ปรากฏในชุดประจำของชาติพันธุ์ลาหู่ในมณฑลยูนนานประเทศจีน เพื่อทำความเข้าใจที่มาหรือความหมายของลวดลายต่างๆและเอกลักษณ์ลวดลายที่แสดงถึงสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ลาหู่ในบริบทรูปแบบเสื้อและลวดลายอันหลากหลายที่มีความแตกต่างกัน จากการศึกษาเอกลักษณ์ลวดลายแห่งความเชื่อในชุดประจำชาติพันธุ์ลาหู่มณฑลยูนนานประเทศจีนได้แสดงให้เห็นว่า ชาติพันธุ์ลาหู่แป่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 4 กลุ่ม ได้แก่ ลาหู่นะ(มูเซอดำ) ลาหู่ฌี(มูเซอเหลือง) ลาหู่ภู(มูเซอขาว,ปัจจุบันหายสิ้นไปแล้ว) ลาหู่ณีย่า(มูเซอแดง) (Editorial committee of A brief history of lahu.2008) และลาหู่นะ(มูเซอดำ) ลาหู่ฌี(มูเซอเหลือง) ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ที่มณฑลยูนนานประเทศจีน ส่วนลาหู่ณีย่า(มูเซอแดง)จะกระจายในทางภาคเหนือของประเทศไทย แม้ว่ารูปแบบเสื้อและลวดลายที่ปักบนผืนผ้าของชาติพันธุ์ลาหู่มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่ม แต่โดยพิจรณาแล้วก็มีเอกลักษณ์เช่นเดียวกัน คือ ถือสีดำเป็นสีสัญลักษณ์ของตนเอง ชุดประจำจะใช้ผ้าสีดำเป็นหลัก ปัจจุบันนี้มีใช้ผ้าสีแดง สีฟ้าหรือสีม่วงเป็นพื้น และตกแต่งด้วยการปักเส้นด้ายสีสันต่างๆหรือผ้าหลากสี และเม็ดโลหะเงินอย่างสวยงาม ลวดลายของชนเผ่าลาหู่มีที่มาหรือความเชื่อค่อนข้างหลากหลาย อาทิ ลวดลายอันแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชนเผ่า ลวดลายที่มีที่มาจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ พืชพรรณ ดอกไม้ สัตว์ เป็นต้น ลวดลายที่มีที่มาจากความเชื่อเรื่องผี วิญญาณ และอีกกรณีหนึ่งที่ลักษณะลวดลายอาจมีการนำเอารูปแบบจากชนเผ่าอื่นเข้ามาผสมผสานอยู่ด้วยกัน เอกลักษณ์ลวดลายที่แสดงถึงสัญลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ลาหู่ คือ ลายน้ำเต้า ลายฟันเขี้ยวหมาและลายปักด้ายสีสัน 3 ตอน  
ผู้เขียน
597220024-3 Mrs. BINGYING SHE [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0