2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความชุกของการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกจังหวัดสกลนคร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 4 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 2651-2033 
     ปีที่ 27 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ หลักการและวัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ในกลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูก และฐานข้อมูลผู้ป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใน 43 แฟ้ม ด้วยรหัส T60.0 - T60.9 ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 – 2561 จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร และเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อดูการกระจายทางวิทยาการระบาดความชุกของพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และดูแนวโน้มของพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกิดขึ้นในเกษตรกรกลุ่มนี้ ผลการศึกษา: พบว่าอัตราความชุกเกษตรกรป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจังหวัดสกลนครในปี พ.ศ. 2559 - 2561 เป็น 78.30, 140.47 และ 47.70 ต่อเกษตรกรแสนคน ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราความชุกเกษตรกรที่ป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชรวม 3 ปี มากสุดที่อำเภอส่องดาว เท่ากับ 628.69 รองลงมาคืออำเภอโคกศรีสุพรรณ คือ 447.54 และเจริญศิลป์ คือ 418.38 ต่อเกษตรกรแสนคน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรชาย ร้อยละ 50.51 อายุ 50 – 59 ปี ร้อยละ 40.67 ชนิดพืชที่เกษตรกรป่วยเพาะปลูกมากที่สุดคือ ข้าวนาปี ร้อยละ 88.60 รองลงมาคือมันสำปะหลัง ร้อยละ 7.51 และอ้อย ร้อยละ 2.33 ตามลำดับ พื้นที่ในการเพาะปลูกของผู้ที่ป่วยคือน้อยกว่า 10 ไร่ ร้อยละ 42.75, และ 10-20 ไร่ ร้อยละ 26.16 ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีเกษตรกรป่วยจากการใช้สารออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต T60.0 มากที่สุด ร้อยละ 64.25 รองลงมาคือ สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์อื่นๆ T60.8 ร้อยละ 24.87 และ สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์อื่นๆ ที่ไม่ระบุรายละเอียด(T60.9) ร้อยละ 8.81 โดยมีรหัส ผิวหนังอักเสบจากสัมผัสภูมิแพ้ ไม่ระบุสาเหตุ (L23.9) ป่วยร่วมด้วย มากที่สุด ร้อยละ 36.11 และปอดอักเสบจากของแข็งและของเหลว (J69) ร้อยละ 30.55 สรุป: การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรข้าว มันสำปะหลังป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่แนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอำเภอเจริญศิลป์ ซึ่งอาจเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาว ข้อมูลนี้จึงเป็นประโยชน์มากในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในเกษตรกรและการค้นหาปัจจัยเสี่ยงเพื่อการป้องกันพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องต่อไป  
     คำสำคัญ ความชุก, พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ข้าว, มันสัมปะหลัง, ออร์กาโนฟอสเฟต, คาบาเมต 
ผู้เขียน
605110113-4 นาย ภคนันท์ คำจันทราช [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0