ชื่อบทความ |
การลดการสูญเสียน้ำหนักในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยมไปยังโรงไฟฟ้าชีวมวล กรณีศึกษา ธุรกิจรวบรวมใบอ้อยเพื่อเป็นเชื้อเพลิง
ชีวมวล จังหวัดชัยภูมิ
|
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
18 กรกฎาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
13 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กันยายน - ธันวาคม 2562 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
กระบวนการลำเลียงใบอ้อยเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดก้อนเหลี่ยมเข้าไปยังโรงไฟฟ้าชีวมวลซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจำเป็นต้องคำนึงถึงการสูญเสียน้ำหนักที่เกิดขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณและมูลค่าการสูญเสีย งานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากิจกรรมในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยม รวมถึงวิเคราะห์หากิจกรรมที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำหนักวัดการสูญเสียน้ำหนักและสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำหนักในแต่ละกิจกรรม เพื่อเสนอ แนวทางการลดการสูญเสียน้ำหนัก ในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยม โดยศึกษาจากธุรกิจรวบรวมใบอ้อยเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเก็บและรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยผังกระบวนการ IDEF0 Endraw Max Version 9.3 และวิเคราะห์ด้วยสูตรสมการวัดการสูญเสียน้ำหนัก ร่วมกับ Why–Why Analysis รวมถึง How - How Analysis และแผนภูมิต้นไม้ ผลจากการศึกษากิจกรรมในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยม พบว่า ประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 10 กิจกรรม เมื่อวิเคราะห์หากิจกรรมที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำหนัก พบว่าเกิดในกิจกรรมตั้งแต่อัดก้อนใบอ้อย รอคอยคิวเก็บก้อนใบอ้อยในไร่ คีบก้อนใบอ้อยขึ้นรถบรรทุก และขนย้ายก้อนใบอ้อยจากไร่ไปยังโรงไฟฟ้าชีวมวล ผลจากการวัดปริมาณการสูญเสียน้ำหนักในแต่ละกิจกรรม พบว่ากิจกรรมรอคอยคิวเก็บใบอ้อยในไร่เกิดการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุดถึงร้อยละ 1.10 โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำหนักมาจากไฟไหม้ใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยมผลจากการเสนอแนวทางการลดการสูญเสียน้ำหนักในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยม พบว่า4แนวทาง ได้แก่แนวทางที่ 1 อบรมผู้รับเหมาอัดใบอ้อยให้มีความชำนาญ แนวทางที่ 2 เก็บใบอ้อยที่ค้างไร่ให้เร็วขึ้นไม่เกิน5วันแนวทางที่ 3 อบรมผู้รับเหมาคีบใบอ้อยให้มีความชำนาญแนวทางที่ 4 อบรมผู้รับเหมาขนย้ายใบอ้อยให้มีความชำนาญ สามารถลดปริมาณการสูญเสียน้ำหนักได้จาก 626.40 เป็น 74.05 ตันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละที่ลดลงได้ถึง 83.79 ส่งผลทำให้มูลค่าการสูญเสีย ลดลงได้ถึง 552,350 บาท ผลจากการศึกษานี้ สามารถนำไปเป็นข้อเสนอแนะในการวางแผนมาตรการป้องกันสูญเสียน้ำหนักในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยมได้ต่อไป |
คำสำคัญ |
การสูญเสียน้ำหนัก, กระบวนการลำเลียง, ใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยม, ธุรกิจรวบรวมใบอ้อย |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|