2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของความเค็มจากเกลือสินเธาว์ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 มิถุนายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การปรับตัวในสภาวะต่างๆ ในน้ำของสัตว์น้ำจะถูกควบคุมด้วยกระบวนการรักษาสมดุลที่ต้องใช้พลังงานในการดูดซึมหรือขับออกของไอออนต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของความเค็มจากเกลือสินเธาว์ ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) และอัตรารอดตาย โดยทดลองกับความเค็ม 4 ระดับได้แก่ น้ำจืด (ชุดควบคุม), 3.0, 6.0 และ 9.0 ppt เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เป็นการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomize Design) ใช้ปลาน้ำหนักเฉลี่ย 25.97±2.54 กรัม ความยาวเหยียด 11.37±0.57 เซนติเมตร ทดลองทั้งหมด 3 ซ้ำ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า น้ำหนักสุดท้ายมีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) ระหว่างกลุ่มทดลอง เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของน้ำหนักสุดท้ายในแต่ละกลุ่มพบว่ากลุ่มที่ทดลองในระดับความเค็ม 3.0 ppt ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่มีน้ำหนักสุดท้ายมากกว่ากลุ่มที่ทดลองในระดับความเค็ม 6.0 และ 9.0 ppt อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบความยาวสุดท้ายไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลอง (P>0.05) ในส่วนของอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก (FCR) พบความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) ระหว่างกลุ่มทดลอง เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มทดลองพบว่า กลุ่มที่ทดลองในระดับความเค็ม 6.0 และ 9.0 ppt มีค่า FCR สูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ทดลองในระดับความเค็ม 3.0 ppt อัตราการเพิ่มน้ำหนักเฉลี่ยต่อวัน (ADG) และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (SGR) พบความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) ระหว่างกลุ่มทดลอง เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่า ADG ในแต่ละกลุ่มพบว่ากลุ่มที่ทดลองในระดับความเค็ม 3.0 ppt ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่แตกต่างจากกลุ่มที่ทดลองในระดับความเค็ม 6.0 และ 9.0 ppt ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ SGR ในแต่ละกลุ่มพบว่ากลุ่มที่ทดลองในระดับความเค็ม 3.0 ppt ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่แตกต่างจากกลุ่มที่ทดลองในระดับความเค็ม 6.0 และ 9.0 ppt ตลอดการทดลองไม่พบการตายของปลาในทุกกลุ่ม ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าปลาตะเพียนขาวสามารถเจริญเติบโตได้ดีในระดับความเค็มไม่เกิน 3.0 ppt  
     คำสำคัญ ความเค็ม เกลือสินเธาว์ ปลาตะเพียนขาว การเจริญเติบโต อัตรารอดตาย 
ผู้เขียน
595030061-1 นาย ศตพร โนนคู่เขตโขง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ
557030013-2 นาย ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ
547030023-8 น.ส. ทัศนีย์ อนุกูลประเสริฐ
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ
577030022-3 นาย ธนสรณ์ รักดนตรี
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0