2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความสัมพันธ์ของค่าการสูดลมหายใจเข้าสูงสุดและค่าแรงเป่าลมหายใจออกสูงสุด ในผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง  
Date of Distribution 15 December 2019 
Conference
     Title of the Conference โครงการการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) เรื่อง “อนาคตอุดมศึกษาไทยภายใต้บริบทโลก 
     Organiser สภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     Conference Place เดอะ ไทด์ รีสอร์ท  
     Province/State จังหวัดชลบุรี 
     Conference Date 24 October 2019 
     To 25 October 2019 
Proceeding Paper
     Volume 2562 
     Issue
     Page 719-727 
     Editors/edition/publisher บรรณาธิการ คณะกรรมการกองบรรณาธิการจัดทำรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท. ประจำปี พ.ศ. 2562 / จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 
     Abstract ปัจจุบันการรักษาโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีการรักษาด้วยยาที่หลากหลาย โดยเฉพาะยาสูดพ่น ปัจจุบันมีการนำ In-Check Dial® มาใช้เป็นตัวช่วยทำนายและเลือกรูปแบบยา แต่ด้วยราคาที่สูงทำให้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงเครื่องมือจึงมีการนำเครื่องมือ Peak Flow Meter มาช่วยในการทำนาย การศึกษาก่อนหน้ามีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง In-Check® และ Peak Flow Meter แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างค่า Peak Inspiratory Flow Rate (PIF) ที่ได้จาก In-Check® และ Peak Expiratory Flow Rate (PEF) ที่ได้จาก Peak Flow Meter ในประเทศไทย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่า PIF และ PEF ในผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การศึกษาวิจัยเป็นการวิเคราะห์ย้อนหลังแบบภาคตัดขวาง ในผู้ป่วยนอกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561 โดยการทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ และจากฐานข้อมูลการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจของโรงพยาบาล ผลการศึกษา พบว่า มีผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 513 ราย เป็นผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ 265 และ 248 รายตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของอายุอยู่ที่ 62 ปี พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างค่า PIF และ PEF ของผู้ป่วยโรคหืด พบว่า ค่า PIF ที่ได้จากการทดสอบด้วยแรงต้านแบบ MDI และ DPIs มีความสัมพันธ์กับค่า PEF ในทิศทางเดียวกันเชิงบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson เท่ากับ 0.491 และ 0.643 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างค่า PIF และ PEF ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่า ค่า PIF ที่ได้จากการทดสอบด้วยแรงต้านแบบ MDI และ DPIs มีความสัมพันธ์กับค่า PEF ในทิศทางเดียวกันเชิงบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson เท่ากับ 0.495 และ 0.465 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เช่นเดียวกัน สรุปผล ค่า PIF และ PEF มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาจนำค่า PEF มาใช้ในการทำนายดูแนวโน้มค่า PIF ได้ 
Author
585150016-6 Mr. NATTAWAT KANGWANSIRAWAT [Main Author]
Pharmaceutical Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0