2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการออกแบบภายใต้แนวคิดวิถีอีสานโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 12 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 5 "ศิลปะสร้างโลก" Art Create the World คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 229-237 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการออกแบบภายใต้แนวคิดวิถีอีสานโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยให้จำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนผลงานศิลปะเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการออกแบบภายใต้แนวคิดวิถีอีสานโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL)เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการทดลองขั้นต้น (Pre - Experimental Design) แบบกลุ่มเดียววัดหลังเรียน(One Shot Case Study) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 27 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนประชารัฐพัฒนาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การออกแบบวิถีอีสาน จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลา 18 ชั่วโมง 2)แบบประเมินทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการประเมินผลงานการออกแบบภายใต้แนวคิดวิถีอีสานนั้น มีค่าเฉลี่ยรวมคิดเป็นร้อยละ 77.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และจากผลการสังเกตการณ์ประเมินผลการประเมินทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 13.1 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 66.9 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เมื่อเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จนมาถึงการสอนครั้งสุดท้าย ผู้วิจัยทำการสอบถามนักเรียนจำนวน 27 คน มีผลความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61และเมื่อพิจารณาเป็นด้านต่างๆจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านบรรยากาศในการเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 และด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือด้าน ด้านการใช้สื่อการสอน  
ผู้เขียน
605050010-7 น.ส. พราวแพรว คำโส [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0