ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
The Effect of Tangeretin on Reproductive Dysfunction in Male Hypertensive Rats |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
15 มีนาคม 2562 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
15 มีนาคม 2562 |
ถึง |
15 มีนาคม 2562 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2562 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
33 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแทนเจอรีติน สารสำคัญในพืชตระกูลส้มต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์บกพร่องในหนูเพศผู้ที่มีภาวะความดันเลือดสูง หนูเพศผู้ถูกเหนี่ยวนำให้มีความดันเลือดสูงด้วยสารแอลเนม (40 มก./กก. นน.ตัว) ในน้ำดื่มเป็นเวลา 5 สัปดาห์ และได้รับการป้อนสารแทนเจอรีติน 15 หรือ 30 มก./กก. นน.ตัว หรือ ยาแคปโตพริล 5 มก./กก. นน. ใน 2 สัปดาห์สุดท้าย หลังจากนั้นจะทำการวัดความดันเลือดแดงเฉลี่ย แรงดันในแกนองชาตจากการตอบสนองต่อไฟฟ้าจากการกระตุ้นเส้นประสาทคาร์เวอนัส ค่าดัชนีชี้วัดภาวะเครียดออกซิเดชัน ความเข้มข้นของอสุจิและร้อยละของอสุจิที่เคลื่อนไหว ผลการศึกษาพบว่าสารแทนเจอรีตินและยาแคปโตพริลช่วยลดความดันเลือดแดงเฉลี่ย และเพิ่มอัตราส่วนของแรงดันในแกนองชาตต่อความดันเลือดแดงเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ความเข้มข้นของอสุจิและร้อยละของอสุจิที่เคลื่อนได้รับการฟื้นฟูในหนูที่ได้รับการป้อนสารแทนเจอรีตินและยาแคปโตพริลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของมาลอนไดอัลดีไฮด์ของอัณฑะในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีความดันเลือดสูงด้วยสารแอลเนมถูกบรรเทาในหนูกลุ่มความดันเลือดสูงที่ได้รับสารแทนเจอรีตินและยาแคปโตพริลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) จึงสรุปได้ว่าสารแทนเจอรีตินมีฤทธิ์ลดความดันและช่วยฟื้นฟูการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศผู้ผ่านการลดลงของภาวะเครียดออกซิเดชันในเนื้อเยื่อ
ABSTRACT
This study aim to investigate the effect of the tangeretin, a bioactive compound in citrus fruits, on reproductive dysfunction in male hypertensive rats. Male Spraque Dawley rats were treated with L-NG-Nitroarginine methyl ester (L-NAME 40 mg/kg) in drinking water for 5 weeks to induce sustained hypertension and treated with tangeretin at dose 15 or 30 mg/kg or captopril (5 mg/kg) for the last two weeks. Their mean arterial pressure (MAP), intracavernosal pressure (ICP) response to cavernous nerve stimulation, oxidative stress biomarkers were analyzed as well as sperm concentration and motility were counted. Tangeretin and captopril significantly reduced MAP and increased ICP/MAP ratio in hypertensive rats (p<0.05). Sperm concentration and sperm motility (%) significantly improved in hypertensive rats treated with tangeretin and captopril (p<0.05). Furthermore, increased testicular MDA were significantly alleviated in L-NAME rats treated with tangeretin and captopril (p< 0.05). In conclusion, tangeretin exhibited anti-hypertensive effect and improved male reproductive dysfunction via decreasing tissue oxidative stress.
Keywords: Tangeretin, L-NAME, Oxidative stress biomarkers
คำสำคัญ: แทนเจอรีติน แอลเนม ค่าดัชนีชี้วัดภาวะเครียดออกซิเดชัน
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|