2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการกระตุ้นการตกไข่หลายใบโดยการใช้ ฮอร์โมนเอฟเอสเอชเข้ากล้ามเนื้อชนิดแบ่งฉีดสองเข็มในโคนมลูกผสมพันธุ์ไทยโฮลสไตน์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 มิถุนายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 มิถุนายน 2562 
     ถึง 15 มิถุนายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 47 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 59-64 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองของรังไข่ต่อการกระตุ้นการตกไข่พร้อมกันหลายใบ โดยการใช้ฮอร์โมน FSH ที่ทำละลายใน MAP-5 50 มก. (สำหรับการออกฤทธิ์อย่างช้า) ในโคนมลูกผสมพันธุ์ไทยโฮลสไตน์ โดยแบ่งโคทดลองจำนวน 6 ตัวออกเป็น 2 กลุ่ม ตามแผนการทดลอง simple cross-over (โดยมีระยะพักสัตว์ในแต่ละช่วงการทดลอง 60 วัน) (1) กลุ่มควบคุม (n=6) ได้รับการฉีดฮอร์โมน FSH ขนาด 400 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมงทางกล้ามเนื้อ เป็นเวลา 4 วัน (2) กลุ่มทรีทเมนต์ (spilt-single injection) (n=6) ได้รับการฉีดฮอร์โมน FSH ขนาด 400 มก. ที่ทำละลายใน MAP-5 50 มก.(0.5% hyaluronan) ทางกล้ามเนื้อ โดยแบ่งฉีดเป็น 2 ครั้งห่างกัน 48 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่า โคทุกตัวแสดงอาการเป็นสัด โดยโคกลุ่มทดลองและกลุ่มทรีทเมนต์มี จำนวนเฉลี่ยของฟอลลิเคิลขนาดใหญ่ (13.3±1.8 และ 12.0±2.0 ใบ ตามลำดับ) จำนวนเฉลี่ยของคอร์ปัสลูเทียม (10.7±1.09 และ 10.0±1.79 ใบ ตามลำดับ) จำนวนเฉลี่ยของฟอลลิเคิลที่ไม่ตกไข่ (2.0±0.51 และ 1.7±0.61 ใบ ตามลำดับ) อัตราการตกไข่ (83.2±4.95 และ 82.8±8.29 % ตามลำดับ) และการตอบสนองของรังไข่ (12.67±0.62 และ 11.67±1.63 ใบ ตามลำดับ) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า โปรโตคอลการฉีดฮอร์โมน FSH ที่ทำละลายใน MAP-5 50 มก. แบ่งฉีด 2 เข็มห่างกัน 48 ชั่วโมง ทางกล้ามเนื้อ สามารถกระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิล และการตกไข่หลายใบในโคนมลูกผสมไทย-โฮลสไตน์ได้เทียบเท่ากับโปรโตคอลพื้นฐานที่ฉีดฮอร์โมนวันละ 2 ครั้ง 
ผู้เขียน
605030022-2 น.ส. ธนพร ราษฎร์ศิริ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลการนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคบรรยาย ประเภทนักศึกษา ระดับดี 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 14 มิถุนายน 2562 
แนบไฟล์
Citation 0