ชื่อบทความ |
การคัดเลือกสถานที่ตั้งที่เหมาะสมของคลังสินค้าด้วยการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นสำหรับคลังสินค้าควบคุมพิเศษ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
8 มกราคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสาร มทร. อีสาน |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
13 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
พฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2563 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสถานที่ตั้งคลังสินค้าควบคุมพิเศษที่เหมาะสมในจังหวัดอุดรธานี โดยการประยุกต์ใช้การหาจุดศูนย์ถ่วงพิกัดที่ตั้งร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น ผลการหาพิกัดจุดศูนย์ถ่วงไม่สามารถกำหนดเป็นที่ตั้งคลังสินค้าได้ เนื่องจากพิกัดดังกล่าวเป็นพื้นที่ส่วนราชการ จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาตราที่ 27 (3) ทำให้ผู้วิจัยต้องกำหนดพื้นที่ใกล้เคียงค่าพิกัดนั้น จากการพิจารณาพื้นที่ใกล้เคียงพบว่ามีพิกัดที่สามารถจัดตั้งคลังสินค้าได้ 4 แห่ง คือ คลังสินค้าบ้านจั่น คลังสินค้านาดี คลังสินค้าหมากแข้ง และคลังสินค้าหนองบัว
ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกสถานที่ตั้งด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น โดยพิจารณาปัจจัยหลัก ได้แก่ ต้นทุน โครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ผู้วิจัยได้พิจารณาปัจจัยรอง ได้แก่ ต้นทุนคลังสินค้า ต้นทุนขนส่งสินค้า ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนภาษี การเข้าถึงถนนหลัก ระบบสารสนเทศ ระบบสาธารณูปโภค ผลกระทบจากชุมชน ผลกระทบต่อเยาวชน มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ตั้งคลังสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่า ปัจจัยหลักด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดเท่ากับ 0.5136 ปัจจัยรองด้านผลกระทบจากชุมชนมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักสำคัญมากที่สุดเท่ากับ 0.2180 ดังนั้นที่ตั้งคลังสินค้าบ้านจั่นจึงเป็นที่ตั้งที่มีความเหมาะสม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดเท่ากับ 0.3122 |
คำสำคัญ |
การวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น; การคัดเลือก; ที่ตั้งคลังสินค้า; ปัจจัย |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|