ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ความต้องการจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
12 มีนาคม 2563 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 6 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
สถานที่จัดประชุม |
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
จังหวัด/รัฐ |
มหาสารคาม |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
11 มีนาคม 2563 |
ถึง |
12 มีนาคม 2563 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2020 |
Issue (เล่มที่) |
March, 11-12, 2020 |
หน้าที่พิมพ์ |
92-102 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 1,294 คน และมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู ซึ่งการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) จากการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 297 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีสัมประสิทธิ์ความเที่ยง 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) รวมทั้งการจัดลำดับความสำคัญของสภาพที่พึงประสงค์ด้วยค่าดัชนีการจัดอันดับความสำคัญ Priority Need Index (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ในภาพรวมค่าเฉลี่ยของระดับปฏิบัติงานตามสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.56) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติงานตามสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.08) และ
2) ความต้องการจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ใน 7 ด้าน ซึ่งลำดับที่ 1 คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNIModified = 0.184) ลำดับที่ 2 คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (PNIModified = 0.167) ลำดับที่ 3 คือ สื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลและแหล่งการเรียนรู้ (PNIModified = 0.165) ลำดับที่ 4 คือ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพศึกษา (PNIModified = 0.148) ลำดับที่ 5 คือ การวัดผล และประเมินผล (PNIModified = 0.138) ลำดับที่ 6 คือ การประกันคุณภาพการศึกษา (PNIModified = 0.124) และลำดับที่ 7 คือ การส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการกับชุมชน (PNIModified = 0.105) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การเชื่อมโยงกระบวนการคิดวิเคราะห์ ประเมินและเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแสวงหาวิธีการ แนวทาง หรือนวัตกรรมการศึกษาที่หลากหลายในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน (PNIModified = 0.272) การกำหนดระเบียบการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา (PNIModified = 0.252) และการวิเคราะห์ความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและแหล่งการเรียนรู้ (PNIModified = 0.226) |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|