ชื่อบทความ |
สถานการณ์ยาคู่เหมือนในชุมชน: กรณีศึกษาตำบลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
|
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
6 สิงหาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารเภสัชกรรมไทย (Thai Journal of Pharmacy Practice, TJPP) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ISBN/ISSN |
1906-5574 |
ปีที่ |
12 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มีนาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
216-229 |
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ยาคู่เหมือนที่มีการกระจายอยู่ในชุมชน ในแง่ของลักษณะรูปแบบของยาที่แสดง จำนวนที่พบ กลุ่มยา ประเภทของยาตามกฎหมาย และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น วิธีการ: การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจในตัวอย่างจำนวน 330 หลังคาเรือนที่เลือกมาตามสัดส่วนจำนวนประชากรในแต่ละหมู่บ้านในตำบล การศึกษายังเก็บข้อมูลจากร้านยาประเภท ข.ย. 1 จำนวน 3 ร้าน ข.ย. 2 จำนวน 1 ร้าน และร้านค้าปลีกที่มีการจำหน่ายยา จำนวน 28 ร้าน การเก็บข้อมูลดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 – กุมภาพันธ์ 2562 ผลการวิจัย: การศึกษาพบยาที่จัดเป็นยาคู่เหมือนในชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 180 รายการ รวม 223 คู่ยา คู่ยาที่มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากลักษณะรูปแบบที่แสดงจำนวน 118 คู่ยา คิดเป็นร้อยละ 52.91 ของคู่ยาที่พบทั้งหมด ลักษณะที่พบมากที่สุดคือ เป็นยาของบริษัทเดียวกันยาที่มีทั้งบรรจุภัณฑ์และชื่อที่คล้าย/เหมือนกัน มีตัวยาสำคัญเดียวกัน แต่มีหลายความแรง/รูปแบบ พบจำนวน 28 คู่ยา คิดเป็นร้อยละ 23.73 ในการสำรวจครั้งนี้ยังพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะเป็นคู่เหมือนของยา จำนวน 1 คู่ สรุป: ยาคู่เหมือนในชุมชนนั้นเป็นปัญหาที่ไม่แตกต่างจากในโรงพยาบาล คู่ยาที่มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากลักษณะรูปแบบที่แสดง เป็นปัญหาที่มักเกิดจากการออกแบบชื่อยา ฉลากและบรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงลักษณะยาให้มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของบริษัทยาเอง |
คำสำคัญ |
ยาคู่เหมือน ความคลาดเคลื่อนทางยา ความปลอดภัยของผู้ใช้ยา |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|